ปอตีนเต่า
ชื่อพื้นเมือง ปอย่าม ปอย่าน ยาบช้าง ยาบสามหาง ยาบหูช้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Colona winitii Craib.
ชื่อวงศ์ TILIACEAE
สถานภาพ ไม้นอกประเภทหวงห้าม
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์
ในประเทศ พบทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ริมห้วย
ในต่างประเทศ กัมพูชา
ลักษณะทั่วไป
ต้นไม้ ไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูง 10 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดโปร่ง ลำต้นเปลาตรง เปลือกนอกสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา เรียบและบางเปลือกในสีชมพูมีเส้นสีขาวแทรกอยู่
ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ในระนาบเดียวกัน รูปใบแบบขอบขนาน ปลายแยกเป็น 3 แฉก ฐานไม่สมมาตร ขอบใบหยักซี่เป็นคู่ ๆ มีขนรูปดาวห่าง ๆ ปกคลุมทั้ง 2 ด้าน เส้นใบจากฐาน 5 เส้น ก้านใบ 0.5-1.5 ซม. หูใบติดโคนก้านใบหลุดร่วงเร็ว ขนาดใบกว้าง 15-25 ซม. 8-15 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อกระจะสั้น ๆ ช่อยาว 3-15 ซม. กลีบเลี้ยงลายแดงเหลือง 6 กลีบรูปรี ๆ กลีบดอกสั้นกว่ากลีบเลี้ยงสีส้มเหลืองเข้มกว่า ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีขนสั้นคลุม ขนเหนียวหนาแน่นเช่นเดียวกับรังไข่ เกสรตัวผู้เกสรตัวเมียรวมกันเป็นกระจุกกลางดอก ดอกบานเต็มที่ 1-1.5 ซม.
ผล ผลมี 4 ปีก (น้อยที่จะมี 3) ปีกกว้างมากกว่า 1/2 ของส่วนกลางผล สีแดงเมื่อสุก ผลไม่แตก/ปลิวตามลมด้วยระบบปีก
ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล
ออกดอก มี.ค.-เม.ย.
ผลแก่ พ.ค.-มิ.ย.
การขยายพันธุ์ เพาะกล้าไม้จากเมล็ด
การใช้ประโยชน์
ด้านเนื้อไม้แปรรูป ทำเครื่องเรือน
ด้านเป็นไม้ประดับ เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก มีใบและดอกเป็นพวงระย้า สีเขียวสดใสดี ใบโยกไปมาด้วยแรงลมไสวดี ใช้พื้นที่ปลูก 2x2 เมตร ปลูกได้ทุกที่ที่มีการระบายน้ำดี
ด้านเป็นสีย้อมผ้า เปลือกมีเส้นใยทำด้วยเชือก แต่ยังไม่มีรายงานการใช้ไม้ทำสีย้อมผ้า
ด้านสมุนไพร สรรพคุณ
ยังไม่มีรายงานการวิจัย