Full Version ส้วม ต้นสักใหญ่ อะไรจะเทห์ขนาดนั้น

เว็บไซต์ ทองไทยแลนด์ ดอทคอม > Article

ส้วม ต้นสักใหญ่ อะไรจะเทห์ขนาดนั้น Date : 2015-05-10 12:19:34

ส้วม ต้นสักใหญ่ อะไรจะเท่ห์ขนาดนั้น

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

         เพราะว่าพบต้นสักใหญ่มากหลงเหลืออยู่ในป่าคลองตรอนฝั่งขวา จึงประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานต้นสักใหญ่ ต่อมากรมป่าไม้ผนวกพื้นที่ทั้งหมดของป่าคลองตรอนฝั่งขวาและฝั่งซ้ายเป็นอุทยานแห่งชาติคลองตรอน  เปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2555  สำคัญมากนะเจ้าต้นสักใหญ่ยอดด้วน


นี่คือโฉมหน้านักปลูกป่าลดโลกร้อนมูลนิธิสมเพิ่มกิตตินันท์

          โดยรอบพื้นที่เป็นป่าไม้สักขนาดต่างๆ เป็นถิ่นกำเนิดไม้สักในป่าเบญจพรรณ ต้นสักใหญ่ต้นนี้สื่อความหมายว่า ขนาดจำกัดประจำพันธุ์ต้นสักนั้นสามารถเติบโตจนมีขนาดใหญ่อย่างนี้ได้ ถ้าธรรมชาติเหมาะสม

          ก่อนนี้ เปลือยพื้นที่โดยรอบต้นสักใหญ่ นักท่องเที่ยวชอบไปยืนหันหลังบ้างยืนหันหน้าเข้าบ้างเกาะมือกันถ่ายรูปเป็นที่ระลึก แต่ด้วยความปราดเปรื่องเรืองปัญญาของดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี  กลัวว่าการไปยืนโอบต้นสักถ่ายรูปจะกระทบกระเทือนต้นสัก จึงสร้างสะพานเดินรอบเสียโก้เก๋ พร้อมกับห้ามลงไปโอบต้นสักเพื่อถ่ายรูปเป็นที่ระลึกอีกต่อไป


ต้นสักใหญ่แสนว้าเหว่ ไร้คนโอบกอด 

          ต้นสักใหญ่ว้าเหว่ ไร้คนโอบกอดนับแต่นั้นมา

         ได้ไปเยี่ยมยามต้นสักใหญ่คราใดก็อดใจไม่ได้ที่จะเดินไปถ่ายรูปบริเวณที่เขาจัดวางสิ่งก่อสร้าง เช่นต้นสมุนไพรที่ปลูกพร้อมป้ายสื่อความหมายถาวร  เขาทำได้ดี แต่ไม่รู้ว่าหัวหน้าคนไหนเป็นคนทำ เยี่ยมๆ  ชอบมากก็อุโมงค์ต้นสักใหญ่ที่ใช้เป็นศูนย์บริการทางวิชาการ เท่ห์อะ


            แต่ไปคราวนี้ ปวดฉี่ เดินหาที่จะใส่ปุ๋ยให้ต้นสักอย่างที่ชอบทำ สุขาอยู่หนใด  ก็เผอิญเจ้าหน้าที่สาวน้อยชี้ว่า ลุงเดินไปอีกนิดเดียวนะคะ สุขาอยู่หนหน้านั่นแหละค่ะ ก็เลยต้องเดินไปตามที่เธอชี้ เห็นตัวห้องสุขาแล้วก็นึกในใจ ใช้สีทารั้วบังตาได้เยี่ยม ตรงกับหลักการจัดการอุทยานแห่งชาติสากลเขานิยมทำกัน  นี่คือกึ๋นของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่


ฉี่ไปแหงนหน้าอ่านไป ไม่เหม็นฉี่ตัวเอง

            เดินเข้าไปพบว่าห้องสุขาแห่งนี้ ธรรมดาๆ แต่ที่ไม่ธรรมดาก็คือ การอำนวยความสะดวกแก่คนปวดอึ ครบถ้วนยังกับในห้างสรรพสินค้า กระดาษเช็ดมือกล่องใหญ่ สบู่ล้างมือหลังใช้งาน กระจกส่องความหล่อ ไปยืนฉี่ ป๊าดโธ่ มีป้ายสื่อความหมายเล่าเรื่องเล็กๆแปะไว้ให้อ่านระหว่างเบ่งเต็มกำลัง ฉี่เสร็จยังอยากอ่านต่อให้จบ เออ เป็นความคิดเยี่ยมยอดและเหนือชั้นจริงๆ  สุขาชายยืนฉี่แห่งนี้ ไม่ต้องแหงนหน้าหนีกลิ่นเหม็นเพราะว่าแหงนหน้าขึ้นไปอ่านข้อความที่สื่อให้เห็น  นี่คือบทพิสูจน์ กึ๋นของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติครับ


ป้ายสื่อความหมายในส้วมต้นสักใหญ่

             เหตุที่ไปซ้ำซากเพราะ อดีตผู้อำนวยการส่งเสริมการปลูกป่ากรมป่าไม้ระดับ 9 ซึ่งบอกแบบเหนียมๆว่า ไม่เคยมาเลยเพราะว่าบรรจุราชการครั้งแรกอยู่แต่ภาคใต้ และเพิ่งได้ร่วมเดินทางไปในโครงการปลูกป่าลดโลกร้อนกับมูลนิธิสมเพิ่ม กิตตินันท์ ครั้งแรก  (5-7 พค.58) ขอเข้าไปชมหน่อยเถอะ  ท่านประธานกรรมการ อุดม หิรัญพฤกษ์ จึงทำหน้าที่อดีตข้าราชการกรมป่าไม้เก่าระดับรองอธิบดี +ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำชมเสียเอง


ป้ายอุทยานแห่งชาติที่ใช้สีได้ถูกต้องตามหลักการจัดการอุทยานสากล

           อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่มีบ้านพัก มีลานกางเต็นท์ ให้ประสานผ่านฝ่ายบ้านพัก กรมอุทยานแห่งชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เอาเน้อ ไม่ได้ค่าโฆษณา ไม่ได้บาร์เธอ ไม่ลงให้ 5555

 

ม้านั่งจากซากต้นไม้ล้มขอนนอนไพร

ข้อมูลจำเพาะอุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่

            อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อยู่ที่หมู่ 4 บ้านปางเกลือ ตำบลน้ำไคร้ ลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ มีเนื้อที่ 22,000 ไร่ ภายในมีต้นสักใหญ่ ซึ่งได้ถูกพบเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2470 มีอายุประมาณ 1,500 ปี ความยาวรอบต้น 1007 เซนติเมตร วัดเมื่อ 18 มิถุนายน 2543 แม้ส่วนยอดถูกพายุพัดหัก ลำต้นส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสภาพเดิมโดยได้รับการดูแลรักษาให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์ และในวนอุทยานต้นสักใหญ่ยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 2 กิโลเมตร


อุโมงต์ต้นไม้ให้ความรอบรู้ 

            อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ (ชื่อเดิม: อุทยานแห่งชาติคลองตรอน)1 ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ มีคลองขนาดใหญ่เป็นแหล่งหล่อเลี้ยงชีวิตสัตว์ทั้งหลายของที่นี่ และในพื้นที่อุทยานยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่ง เช่น ต้นสักใหญ่ ซึ่งประกอบเป็นคำขวัญประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ น้ำตกห้วยเนียม น้ำตกกกมอนแก้ว และยังมีถ้ำ ได้แก่ ถ้ำจัน ถ้ำเจดีย์ ถ้ำเสือดาว ถ้ำผาตั้ง และยังมียอดดอยที่คนทั่วไปรู้จักกันดีใน ชื่อยอดดอยภูเมี่ยง ยอดดอยที่สูงเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศไทย โดยอุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ มีพื้นโดยรวมทั้งหมด 324,240.80 ไร่ หรือ 518.80 ตารางกิโลเมตร ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2546 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 103 ของประเทศไทย


ป้ายสื่อความหมายทางวิชาการถาวร เยี่ยม

            ภูมิประเทศ ประกอบไปด้วยป่าคลองตรอนฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ท้องที่อำเภอน้ำปาด อำเภอท่าปลา อำเภอทองแสนขัน อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

           ป่าคลองตรอนฝั่งซ้าย ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงต่ำโดย มีแนวเทือกเขาที่สำคัญคือ เขาภูเมี่ยง เขาคว่ำเรือ เขาหงายเรือ เขาสามเหลี่ยม เขาหยวก เขาถนน เขาแดด เขาไม้ผา เขาตักบอน เขาน้ำย้อย เขาผักขวง และเขาจันทร์ ยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ด้านทิศตะวันออกคือ เขาภูเมี่ยง สูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แหล่งกำเนิดห้วยที่สำคัญไหลจากแนวตะวันออกไปสู่แนวตะวันตกและไหลสู่แม่น้ำน่าน ได้แก่ ห้วยคลองม้ามืด


กึ๋นไหม ถังน้ำหยดเหลือใช้

            ป่าคลองตรอนฝั่งขวา เป็นป่าเบญจพรรณผสมป่าเต็งรังบนเนินเขา และมีภูเขาสลับกัน ไม่สูงชันมากนัก บริเวณในวนอุทยานมีสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่ศึกษาธรรมชาติทางป่าไม้มากมาก ในบริเวณวนอุทยานกว้างขวางเต็มไปด้วยป่าที่เขียวขจีมากมาย

             ภูมิอากาศ  สภาพภูมิอากาศทั่วไปค่อนข้างร้อน อากาศร้อนในฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน อากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว คือเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ มีฝนตกชุกปานกลางในฤดูฝน เป็นระยะสั้น ฤดูร้อนค่อนข้างร้อนยาวนานที่สุด 


ชื่ออะไรหรือเจ้า

กล้วยไม้ป่าประดับตามต้นไม้

             พืชพันธุ์ และสัตว์ป่า    ป่าคลองตรอนฝั่งซ้าย ป่าไม้ทั่วไปเป็น แบ่งเป็น 5 เขตได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ต้นกระบก ตะเคียนหิน กระบาก ยอมหอม สมพง ยาง มะขามป้อม จำปีป่า สัก แดง ประดู่ ตะแบก ตระคร้อ ตีนนก สมอไทย เต็ง รัง เหียง พลวง ติ้ว แต้ว เป็นต้น สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เลียงผา หมี เก้ง กระจง เสือลายเมฆ เสือปลา อีเห็น กระต่ายป่า หมูป่า ลิง ลิงลม พังพอน กระรอก กระแต และเม่น

              ป่าคลองตรอนฝั่งขวา ในส่วนที่เคยเป็นวนอุทยานต้นสักใหญ่ เป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังบริเวณต้นสักใหญ่ ประกอบด้วยไม้สักหลายชั้น อายุมีตั้งแต่ขนาดใหญ่ ขนาดเล็กและลูกไม้ นอกจากนี้มีไม้เต็งรัง พะยอม แดง ประดู่ ตะแบก เป็นพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ทั่วไปในบริเวณ และนอกจากจะมีพันธุ์ไม้มากมายหลายชนิดยังมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ในบริเวณโดยรอบอีกด้วย


กล้วยไม้ชื่อกะเร่กะร่อน

              ต้นสักใหญ่ เป็นต้นไม้สักที่โตที่สุดในโลกปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง] ที่ยังยืนต้นอยู่จัดที่สูงจากพื้นดิน 1.30 เมตร ลำต้นโต 9.85 เมตร (วัดเมื่อ 13 ตุลาคม 2525) สูงประมาณ 47 เมตร มีอายุซึ่งประมาณว่าไม่น้อยกว่า 1,500 ปี บริเวณรอบ ๆ ต้นสักใหญ่ประกอบด้วยต้นสักขนาดย่อม ลูกไม้สัก เป็นป่าเบญจพรรณซึ่งมีไม้สักเป็นองค์ประกอบโดยรอบป่าธรรมชาติ บริเวณวนอุทยานต้นสักใหญ่สภาพป่าธรรมชาติโดยทั่วไปสภาพดี ประกอบด้วยป่าเต็งรัง ไม้รัง ไม้เพียง ไม้พลอง เป็นองค์ประกอบและป่าเบญจพรรณ ประกอบด้วย ไม้ประดู่แดง แดง มะค่าโมง พะยอม ป่าธรรมชาติดังกล่าวปรากฏตามเนินเขาสูง ต่ำ ๆ สลับกันไปเป็นทิวทัศน์สวยงามมาก 


กล้วยไม้ชื่อเสือโคร่ง

              ป่าคลองตรอนฝั่งซ้าย (ภูเมี่ยง) จากอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 107-108 (สามแยกบ้านป่าขนุน) แยกไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1047 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 36-37 สามารถเที่ยวชมถ้ำจัน และเมื่อเดินทางต่อไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1047 อีกประมาณ 11 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ โดยเดินทางตามทางแยกเข้าไปอีก 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่


กระเช้าสีดา

              ป่าคลองตรอนฝั่งขวา (ต้นสักใหญ่) จากทางหลวงสายพิษณุโลก - อุตรดิตถ์ ตรงกิโลเมตรที่ 104 - 110 เข้าไปตามทางหลวงหมายเลข 1047 ไปอีก 53 กิโลเมตร จึงถึงวนอุทยานต้นสักใหญ่จากทางหลวงสายอุตรดิตถ์ - เขื่อนสิริกิติ์ - น้ำปาด แยกเข้าไปตรงกิโลเมตรที่ 64–65 เข้าไปตามทางหลวงหมายเลข 1047 ไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร จึงถึงวนอุทยานต้นสักใหญ่


ความคิดเห็น