ลูกหนูหรือจรวดมอญ
โดย ป่าน ศรนารายณ์
ถ้ามองภาพความยิ่งใหญ่ของเจดีย์ชะเวดากอง หรือ พระเจดีย์เลียะเกิง ที่พระเจ้าเอกกะลาปะ กษัตริย์ของชาวรามัญ อันเป็นผู้สร้างองค์แรก เมื่อมหาศักราช 106 เดือน 4 ขึ้น 13 ค่ำ วันพุธ เพื่อบรรจุพระเกศธาตุ 8 เส้น ความศรัทธาในพุทธศาสนาแสดงออกที่ความยิ่งใหญ่แห่งองค์พระเจดีย์ที่รุ่งเรื่องตามวันเวลาที่ผันผ่านกว่า 2,500 ปีมาแล้ว แทบถูกลืมเลือนจนหาข้อมูลความยิ่งใหญ่ของชาวรามัญไม่ได้
แต่วันนี้ ชนชาวรามัญเติบโตและมั่นคงในแผ่นดินอันร่มเย็นและเป็นสุขร่วมกันกับคนไทยทั่วไป
เมืองเลียะเกิงก็คือเมืองร่างกุ้งวันนี้ ส่วนคำว่าชะเวดากองเป็นภาษาพม่า แปลว่าเจดีย์ทองคำ พม่าเข้มแข็งมากขึ้น จึงยึดเมืองหงสาวดีอันเป็นราชธานีมอญไปจนหมดสิ้น วันนี้ชาวรามัญไม่มีประเทศอยู่อีกแล้ว จะสืบค้นหาประวัติความเป็นมาของพระเจ้าแผ่นดินรามัญแห่งเมืองหงสาวดี ซึ่งมีหงส์เป็นสัญลักษณ์ ก็ค้นหายาก ถึงกระนั้น ชนชาติมอญหรือรามัญ ยังคงแผ่ขยายกระจายเผ่าพันธุ์ออกไปอย่างกว้างขวางในแผ่นดินขวานทอง
ในขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวรามัญกับชาวไทยกลมกลืนกันจนแทบแยกไม่ออกว่าไหนไทยไหนมอญ รูปร่างลักษณธท่าทาง อุปนิสัยใจคอ และวิถีชีวิต ต่างกันก็แต่ภาษาพูดและเขียน มีประเพณีการปลงศพพระเกจิอาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายมอญ แตกต่างจากพระสงฆ์ไทยก็คือ คนมอญจะไม่จุดไฟเผาศพพระเกจิอาจารย์เด็ดขาด หากแต่จะจุด "ลูกหนู" ให้วิ่งไปเผาศพพระเกจิอาจารย์ อันเป็นการแสดงความเคารพนับถืออย่างยิ่งยวด
ลูกหนู เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่สร้างจากลำไม้ไผ่เว้นข้อปล้องหัวท้าย เจาะรูด้านหนึ่งแล้วอัดด้วยดินระเบิด(ดินประสิว ถ่านไม้และกำมะถัน) ใช้ไม้เล็กๆเหลากลมกระแทกอัดทีละนิดๆ ระหว่างนั้นต้องคอยหยอดน้ำประสานที่ทำจากส่วนผสมของ ข่า ยาสูบ ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม ปูนขาวและน้ำ เพื่อลดความร้อนในการอัด มิเช่นนั้นอาจระเบิดขึ้นได้ เมื่ออัดดินระเบิดจนพอเพียงแล้วก็ต่อสายฉนวนไว้ที่รูข้างท้าย และเจาะรูด้านหัวกระบอกลูกหนู่ด้วย
สูตรการอัดดินระเบิดลูกหนูมักไม่บอกกัน เป็นเทคนิคของใครของมัน บางกลุ่มอัดแล้วลูกหนูพุ่งออกทันทีที่จุดฉนวน บางกลุ่มอัดแล้วลูกหนูจะเต้นฟุตเวิร์คอยู่กับที่ เผาพลังเพลิงจนร้อนจัดแล้วจึงจะพุ่งออกไป งานนี้ เรียกเสียงลุ้นกันมันหยด จะไปหรือไม่ไปกันแน่ แต่ก็มีบางกลุ่มอัดให้ดิ้นได้กลางทางแบบวิ่งๆหยุดๆ ซึ่งมักเรียกเสียงเฮได้มากๆ
แต่เนื่องจากพระเกจิอาจารย์ส่วนใหญ่อายุยืน สุขภาพแข็งแรง นานหลายสิบปีจึงจะมรภาพเสียองค์หนึ่ง ทำให้การเล่นลูกหนูแทบจะลืมเลือนกันไป ในที่สุด ชาวรามัญปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม ฯลฯ จึงได้จัดประเพณีแข่งลูกหนูขึ้นในวันที่ 26 เมษายน 2552 จากกลุ่มนักสร้างลูกหนู 28 วัดๆละ 12 ลูก รวม 336 ลูก เริ่มตั้งแต่ 09.00 น.เป็นต้นไป ที่ลานเอนกประสงค์ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี (แยกไทยดอยซ์)
สนามแข่ง เดิมทีเดียวศพเกจิอาจารย์มักสถิตย์อยู่บนปราสาทสวยงามมาก แล้วพุทธศาสนิกชนโยงลวดจากแท่นตั้งศพมายังบริเวณโดยรอบปราสาท ห่างราวๆ 20 เมตร ชาวรามัญจะผูกลูกหนูกับลวด เมื่อจุดฉนวน ลูกหนูจะวิ่งไปยังศพ แล้วไฟจะลุกเผาไหม้ไปตามแรงลูกหนู แต่ก็มีเหตุเคยเกิดขึ้น เช่นซากศพกระเด็นออกมาจากแรงระเบิดดังกล่าว ทำให้เกิดความอุจจาดยิ่งนัก ชาวรามัญจึงได้บรรจุศพเกจิอาจารย์ไว้เผาจริงในเมรุ แต่บนปราสาทกลายเป็นเผาหลอก จากประเพณีกลายเป็นการแข่งขันจากศรัทธาของศิยษ์
สนามแข่งวันนี้ เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง เส้นลวดเปลี่ยนเป็นสลิงขนาดใหญ่ ระยะทาง 200 เมตร ธงแต่ละวัดปลิวไสว สีสันสวยงาม ปลายทางมีเสาขึงสลิงแน่นหนา มีธงปักไว้เป็นที่สังเกต ห่างออกไปข้างหน้าปลายทางปักด้วยปราสาทสีแดงสีเหลืองและธงหลากหลายแบบ สลิงมีแท่นยกลงเพื่อผูกลูกหนูและยกขึ้นเมื่อเตรียมจะปล่อย ไม้ไผ่จุดฉนวนยาวขนาดพอดี
ลูกหนูวันวานเป็นกระบอกไม้ไผ่ขนาดใหญ่ แต่วันนี้เป็นไม้มะม่วงบ้างขนุนบ้าง ขนาดเส้นรอบวง 50-60 ซม. ยาว 1-1.2 เมตร ยกกันทีก็คือต้องใช้คนหนุ่มสองคนหามครับ การรักษาประเพณีไว้ด้วยการแปรสภาพมาเป็นการแข่งขัน สืบสานได้แน่เช่นเดียวกับบ้องไฟยโสธร ที่จุดเพื่อขอน้ำขอฝนนั่นแหละครับ
ในชึมชนรามัญทั่วประเทศบ้านเรา ล้วนมีความสามารถในการทำลุกหนูทั้งสิ้น พอเปิดการแข่งขันดังกล่าว จึงมีกลุ่มศรัทธาแต่ละวัดร่วมกันลงละเล่นอย่างหนาแน่นไม่น้อย 28 วัด ขาดก็แต่ ในแต่ละกลุ่มวัดนั้นๆ ไม่มีกองเชียร์ที่ริมขิบสนามเหมือนกับการแข่งเรือ ถ้ามี คงครึกครื้นอีกพะเรอเชียว หางเครื่องแฟนซี หางเครื่องเซ็กซี่ หางเครื่องหงำเหงือก หรือแม้แต่กองเชียร์ชายเทียมหญิงสำรอง สนุกแน่ๆ ถ้ามีในปีหน้า
บนเวที โฆษกเป็นพระแขนด้วยหนึ่งรปคู่กับหนุ่มใหญ่อีกหนึ่งคน เป็นการพากย์การแข่งขันอย่างสนุกสนาน เพิ่มสีสันการแข่งขันให้ครึกครื้นยิ่งขึ้น
พระอาจารย์สำราญ ถามวโร (ทองใบ) อายุ ๕๕ ปี พรรษา ๓๕ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางโพธิ์ใน อ.เมือง จ.ปทุมธานี พระนักพากย์แขนด้วนทั้งสองข้าง เล่าว่า
ก็เพราะว่าเล่นลูกหนูนี่แหละ พลาดไปหน่อย ก็เลยเหลือท่อนแขนสองข้าง ไม่มีมือถือไมค์อีกเลย แต่ก็ใช้ปลายแขนหนีบไมค์พูดได้ไม่หยุดหย่อน ยังเรียกเสียงหัวเราะและรอยยิ้มจากผู้ชมได้มากมายอยู่
อยากจะกล่าวว่า ชาวรามัญเล่นแร่แปรธาตุมานานนักหนา น่าจะพิสูจน์ความจริงที่เคยย่งใหญ่ได้เลย