ทริป 14-22 มีนาคม 2565 ทำบุญไปเที่ยวไปกับมูลนิธิสมเพิ่มกิตตินันท์
โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ
ทริปทำบุญไปเที่ยวไปกับมูลนิธิสมเพิ่มกิตตินันท์ ปีที่ 36 นำโดยท่านอุดม หิรัญพฤกษ์ ประธานกรรมการมูลนิธิสมเพิ่มกิตตินันท์ วัย 96 ปี สมาชิกกรรมการกิตติมศักดิ์ กรรมการมูลนิธิปีปัจจุบัน รวมตัวกันได้เหมือนทุกปี เพียงแต่ปีนี้ติดพันธะโควิด 19 จึงได้เลื่อนทริการประชุมคณะกรรมการสามัญประจำปี ออกไปจนถึงเดือน มีนาคม ได้ครบทีม
ผมเดินทางไปล่วงหน้า ไปเตรียมบ้านพักรับรองของมูลนิธิ บ้านมูลนิธิ 6 เตียง ชั้นบนซึ่งได้สร้างสุขาพร้อมน้ำอุ่นเพื่ออำนวยความสะดวกด้วย บ้านวน.15 หรือบ้านพักชมรมคุณเหี่ยว 2 เตียง 1 สุขา พร้อมน้ำอุ่น และบ้านอำไพ.อุดม 2 ห้องนอน 2 ห้องสุขา รวม 4 เตียง พร้อมน้ำอุ่น แต่ที่อลังการมากคือช่วงต้นเดือนมีนาคมทุกปี จะมีดอกไม้ริมบ้านบานสะพรั่ง
ต้นเหลืองอินเดียต้นเดียวบานเต็มต้น โปรยกลีบดอกลงสู่สนามหญ้าเขียวขจี ต้นโสกแดงริมสระน้ำหน้าบ้านออกดอกนานนับเดือนๆเหมือนจะรอคณะกรรมการ ต้นชบาดอกสีชมพูกำลังเบ่งบานแทบทุกกิ่ง ประดับพราวไปทั้งสองฝั่งสนามหญ้าหน้ามูลนิธิ ต้นฝ้ายคำที่คณะกรรมารได้ขึ้นมาปลูกลดโลกร้อนเมื่อ 4 ปีก่อนออกดอกพราวไปทั่ว
ชมพู่-ลูกน้ำและแกงค์มาช่วยกันปูที่นอน กางมุ้ง ล้าง ขัดถูทั้งพื้นห้องและสุขา ไม่ได้ปล่อยให้ตาธง(กก.และเลขานุการ) ทำคนเดียว ทุกคนมีความสุขที่ได้กำหนดารชัดเจนว่า จะมาประชุมและแจกทุนการศึกษาเช่นทุกปี มีการแอบซ้อมฟ้อน เต้น เพราะอยากตอบสนองน้ำใจเมตตาปราณีของคณะกรรมการ (อยากได้ทิปด้วยแหละ) ค่ำคืนที่รอคอย ชวนให้ตื่นเต้น
ค่ำพอดี รถตู้ของคณะกรรมการมูลนิธิมาถึง แต่ปรารถนาจะไปพักรีสอร์ทในอำเภอนาน้อย ที่นอนและเตียงไม้สักเป็นหมันทันใด ทั้งๆที่ ในการประชุมคณะกรรมการเช่นทุกปี ไม่มีค่าที่พักแต่อย่างใด ทุกอย่างร่วงผล็อยดุจดอกเหลืออินเดียที่พราวสนามหญ้า เหี่ยวไปเลย “ไม่เป็นไร หมดภาระการประชุม พวกเราก็มานอนเล่นแทนแล้วกัน เฮ เสียงเด็กๆดังขึ้น
เช้าตรู่ ข้าวต้มเครื่องหมูบดแถมเล้ง ส่งกลิ่นหอมฉึ่งรออยู่พร้อมถ้วยน้ำส้มพริกขี้หนู กระเทียมเจียมหอมๆ ผักชีต้นหอมซอยในจาน ไข่ไก่ลวในถาด ชามช้อน พริกไทยป่น พยักหน้า “พร้อมบริการนะพวกเรา” เสียงตอบดังแผ่วๆ”พร้อมจ้าว” บ้านพักในหุบเขา บ้านกิตตินันท์โฮมสเตย์ ที่มูลนิธิฯอนุมัติให้แปลงทรัพย์สินให้เป้นทุน เพื่อทำกิจการบ้านพัก
เพื่อให้บ้านเกิดประโยชน์มากกว่าต้อนรับคณะกรรมการมูลนิธิเพียงปีละ 2 คณะ 2 วัน
หลังมื้อเช้า กองผ้าป่าสามัคคีพร้อม ชาวบ้านมาช่วยยกกองผ้าป่า เดินกันไปที่ศาลาการเปรียญ และทอดผ้าป่าแด่พระสงค์ เสร็จสิ้นได้รับการปันพรจากพระสงฆ์ แล้วก็เดินทางกลับมาประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเหมือนทุกปี แต่ปีนี้ มีสมาชิกที่มาร่วมมากมาย เช่นกลุ่มเพื่อนครูแหวว(เทียนทอง พัฒนใหญ่ยิ่ง) จากกรุงเทพ อยุธยา มากหน้าหลายตา
ผลงานการพิจารณาให้ทุนการศึกษาในปีการศึกษา 2564 ได้รับรายงานจากกรรมการและเหรัญญิกดังนี้คือ ให้ทุนการศึกษาต่อเนื่อง แก่เด็กด้อยโอกาสจำนวน 95 ทุนดังนี้คือ ทุนระดับอนุบาล 2 ทุน เป็นเงิน 1,000 บาททุนระดับประถมศึกษา จำนวน 38 ทุน เป็นเงิน 30,400 บาท ทุนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 23 ทุนเป็นเงิน 80.500 บาท ระดับมัยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 21 ทุน เป็นเงิน 126,000 บาท ทุนระดับอุดมศึกษา จำนวน 11 ทุน เป็นเงิน 110,000 บาท รวมทั้งหมด 95 ทุน เป็นเงิน 347,900 บาท
วาระการประชุมที่ 5 เรื่องการพิจารณาทุนการศึกษาต่อเนื่อง ประจำปีการศึกษา 2565 ผลการพิจารณาอนุมัติดังนี้คือ ทุนการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 33 ทุน ๆละ 800 บาท รวมเป็นเงิน 26,400 บาท ทุนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 22 ทุนๆละ 3.500 บาท เป็นเงิน 77.000 บาท ทุนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 27 ทุนๆละ 6,000 บาท เป็นเงิน 162,000 บาท และทุนระดับอุดมศึกษา จำนวน 8 ทุนๆละ 10,000 บาท รวมเป็นเงิน 80,000 บาท รวมทุนทั้งหมด 90ทุน เป้นเงิน 345,400 บาท และทุนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติปีละ 10,000 บาท จำนวน 1 ทุน
ระเบียบวาระการประชุมที่ 6 อายุกรรมการมูลนิธิ ที่ประชุมขอเสนอให้ใช้คณะกรรมการชุดเดิมต่อไป ทั้งชุด และให้ดำรงตำแหน่งเดิมทุกคน ท่านอุดม หิรัญพฤกษ์ จึงยังดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการมูลนิธิสมเพิ่ม กิตตินันท์ ต่อไป
หลังการประชุมเสร็จสิ้น ได้ร่วมกันทำพิธีแจกทุนให้กับเยาวชนที่สะดวกเดินทางมาร่วมเช่นทุกปี ความวุ่นวายเกิดขึ้นตามปกติเพราะเด้กๆ ยังไร้เดียงสา การจัดระเบียบไม่มีครูจากรร.มาดำเนินการเหมือนเมื่อครั้งที่ โรงเรียนบ้านกิตตินันท์ ยังเปิดทำการสอน ถูกสั่งปิดเนื่องจากจำนวนนักเรียนน้อย 29 คน นักเรียนในหมู่บ้านจึงต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนบ้านหนองห้าและรร.นาน้อย ส่วนระดับอุดมศึกษา ไปเรียนตามสถานที่เรียนต่อเนื่องเช่นเดิม
ระหว่างรับประทานมื้อเที่ยง ขนมจีนแกงเขียวหวานหมู นักเรียนตัวเน้อยๆอยากฟ้อนและเต้นให้คณะกรรมการชม ได้ออกมาแสดงแบบไม่เต็มรูปเช่นทุกปี ปีหน้า เต็มสตีม
ชาวบ้านยังมีเพียงฟักทองพื้นเมือง ฟักเขียวลูกกลมๆพื้นเมือง มะละกอสุก เป็นของฝากแก่สมาชิกคณะกรรมการมูลนิธิเช่นทุกปี กล้วยน้ำว้า กล้วยหอมทอง กล้วยเล็บมือนาง ฟักทองพื้นเมืองรูปเบี้ยวๆ ได้รับความนิยมมากว่าฟักทองทั่วไป เพราะทุกคนได้ชิมรสชาติฟักทองนึ่งแกล้มน้ำพริกหนุ่ม อร่อย เลอ เลิศ ตลอดกาล ส่วนผลไม้อื่นๆที่สุกไม่ตรงกับช่วงเวลา ได้แก่ เงาะรร.แก่จัดช่วง พฤษภาคม สะตอแก่ชวนกินเดือน มิถุนายน และอะโวกาโด สุกสิงหาคม
ต่อจากนั้น คณะกรรมการมูลนิธิได้เดินทางไปท่องเที่ยวยังดอยร้อยดอยเช่นทุกปีที่เคยไป จนแทบจะทั่วทุกดอยของจังหวัดน่าน ได้เปลี่ยนบรรยากาศ ได้เปลี่ยนรสชาติอาหารที่รับประทาน ได้พบผู้คนแตกต่างไปตามแต่ละสถานที่ โดยเฉพาะ ได้ชมธรรมชาตินานาภูเขาสูงๆของจังหวัดน่าน อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวแห่แหนกันมามากมาย
มูลนิธิสมเพิ่มกิตตินันท์เพื่อทุนการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาสได้มีโอกาส แถมมูลนิธิสมเพิ่มกิตตินันท์ยังเพื่อคณะกรรมการมูลนิธิและสมาชิกผู้มีจิตเมตตาได้มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยว เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ ชดโช้ ช่างเหมาะเหม็ง ช่างสอดคล้อง ช่างสานสมพันธ์ให้เกิดไมตรีมีความสุข ทุกข์อันตราทานไปสิ้น กับสายลม แสงแดด และสายหมอกที่ฟุ้งกระจาย