ทริปทำทานไปกับมูลนิธิเฮียะ เปาอินทร์ ปีที่ 19
โดย อึ้งเข่งสุง ภาพ-ธงชัย-นิวัตร เปาอินทร์
เล่าเรื่องเก่า แต่ไม่เหลือภาพเก่า
ปีพ.ศ.2529 ผมเดินเคียงไปกับกลุ่มลูกบ้านที่ทำงานปลูกป่าปรับปรุงต้นน้ำให้กับราชการ พอจะลงเนินเขา ผมถามเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งชื่อมูลว่า ถ้าสมมุติหัวหน้าใช้ให้มูลไปเก็บเมล็ดไม้ ซึ่งต้องปีนขึ้นไปสูงๆ แล้วเกิดตกลงมาเป็นอัมพาต จะทำไง คำตอบจากมูลคือเมียหนึ่งลูก3ผมอดตายแน่ๆ
กินอาหารค่ำระเบียงหน้าบ้าน
ผมถามต่ออีกว่า ถ้าหัวหน้าตั้งสวัสดิการคนชราเพื่อคนชราและทุพพลภาพ หากใครแก่เฒ่าและเจ็บป่วยอย่างว่าจะได้มีเงินสวัสดิการสักก้อนให้ได้ใช้เป็นค่ายา จะดีไหม คำตอบได้มาหลายเสียงในจำนวนที่เดินคลอกันมา “ก็ดีซิครับ”
เงินสะสมบริจาคเป็นผ้านวม 20 ผืนเพื่อมูลนิธิรับแขก
อีกสัปดาห์ต่อมา มูลคนถูกถามเป็นอัมพฤต นอนเดี้ยงคาที่นอน เดือดร้อนผมแล้วซิ ปากพล่อยไปถามแล้วเกิดเป็นขึ้นมาจริงๆ ขั้นแรกผมลงไปเยี่ยมได้เห็นกับตาว่ามูลนอนคาที่นอนลุกนั่งไม่ได้ ขั้นสอง ผมได้รู้ชัดว่าปกติครอบครัวนี้มีคนทำงานคือมูลและบุญหลีแม่ลูกสาม จึงพอมีเงินใช้ได้อิ่มท้องและลูกๆได้เรียนหนังสือตามวัย
คุณสุรศักดิ์ มารีอนุเคราะห์ บริจาคเสื้อกันหนาวฯลฯ
ผมตัดสินใจให้เปิดงานในเวลากลางคืน หางานกรอกดินใส่ถุงดำเพื่อเพาะชำกล้าไม้ เพิ่มขึ้นเพื่อให้เมียและลูกๆของมูลได้ทำงานนอกเวลา นับปริมาณงานเป็นค่าแรงรายวันแทนมูลซึ่งออกงานไม่ได้ วิกฤติทำให้เกิดโอกาสและปรับโฉมหน้างาน ผมได้ปริมาณงานเพิ่มจากภาคกลางคืน 18.00-21.00 น. งานเร็วขึ้น
อีกสัปดาห์ต่อมา มูลหายเป็นปกติ และเริ่มออกงานได้ แต่งานกลางคืน ผมกลับไม่เลิกเพราะได้งานเร็วขึ้นอีก
ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์
ผมเรียกประชุมพี่น้องเพื่อนร่วมงานทั้งหุบเขาแล้วเริ่มเล่าเรื่องสวัสดิการคนชราอีกครั้ง สรุปกันว่า เราจะจัดงานบอลล์การกุศลขึ้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2530 เพื่อหาเงินตั้งกองทุนสวัสดิการคนชราขึ้น สโลแกน วันรักคนชรา พิมพ์บัตรแล้วขายโต๊ะ 120 โต๊ะ งานเสร็จด้วยได้นางสาวกิตตินันท์บอลล์ 1 คนงามแต๊ๆ และได้เงินตั้งกองทุนเริ่มต้น 49000 บาทเศษๆ
แม่เฮียะ เปาอินทร์ สิ้น มูลนิธิเฮียะ เปาอินทร์ เริ่ม
เดือนกันยายน ปีพ.ศ.2541 แม่เฮียะ เปาอินทร์สิ้น ผมขออนุมัติพี่น้องสมาชิกกองทุนสวัสดิการคนชราเพื่อยกฐานะเป็นมูลนิธิ ด้วยเงินเริ่มต้น 500,000 บาท ได้ใบอนุญาตเลขที่ ต.492/2541 ทะเบียนนิติบุคคลเลขที่ นน.2/2541 นำเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ เลขที่ 0201006247 ปัจจุบันนี้มีเงินฝากทั้งสิ้น 759,306.60 บาท
กรรมการและสมาชิกมูลนิธิฯ
เพื่อวัตถุประสงค์ ช่วยเหลือคนชรา ทุพพลภาพ ไร้หลักแหล่ง ไร้ญาติ ขาดผู้อุปการะ อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย และโรคระบาด หรือกรณีฉุกเฉิน ช่วยเหลือการประกอบสัมมาอาชีพที่ส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อสาธารณะประโยชน์ ร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ และไม่เกี่ยวข้องทางการเมือง และนี่คือบริบทหนึ่งของการตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อใช้เฉพาะดอกเบี้ยจากเงินฝากและมีผู้บริจาคให้โดยกำหนดตามวัตถุประสง๕การบริจาค
บทบาทสำคัญของการบริหารจัดการ
มูลนิธิเฮียะ เปาอินทร์ มีคณะกรรมการ 19 คน ดังนี้คือ นายช่วงชัย เปาอินทร์ ประธานกรรมการ นางมณี บันลือหาญ เป็นรองประธานฯ นางสาวสิรี เปาอินทร์ นายรอบ ทาอิน นายเจตน์ ก่ำบุญ นายโสภณ ศรีพรม ฯลฯ ผู้ใหญ่บ้านโดยตำแหน่ง หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำห้วยสามสบโดยตำแหน่ง เป็นกรรมการ นายธงชัย เปาอินทร์ เป็นกรรมการและเลขานุการ นายประสิทธิ์ พัฒนใหญ่ยิ่ง เป็นกรรมการและเหรัญญิก นางเธียรทอง พัฒนใหญ่ยิ่ง เป็นกรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กำหนดการประชุมสามัญประจำปี ทุกปี
กรรมการมอบของบริจาคแก่แก่สมาชิกสว.คนหนึ่ง
สมาชิกมูลนิธิเฮียะ เปาอินทร์ 110 คน บริหารเงินรายได้จากดอกเบี้ยแต่ละปีและที่ได้รับบริจาคโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สูงอายุตามระเบียบของมูลนิธิคือ ผู้สูงวัยเกินกว่า 60 ปี ผู้ทุพพลภาพ ผู้เสียชีวิตแต่ละปี
ส่วนการบริจาคตามวัตถุประสงค์เช่นแต่ละปีมีผู้ร่วมบริจาคเป็นเสื้อผ้าเครื่อง นุ่งห่มกันความหนาว เช่นปีนี้ได้คุณสุรศักดิ์ มารีอนุเคราะห์ บริจาคเสื้อยืด 60 ตัว เสื้อกันหนาว 32 ตัว เครื่องเวชภัณฑ์สามัญประจำบ้าน และน.ส.สุนันท์ เทศนาบริจาคผ้าขนหนู จำนวน 50 ผืน เป็นต้น
ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจไป พร้อมกับการทำบุญทำทาน
การเดินทาง เหมารถตู้จากกรุงเทพ-หุบเขาห้วยสามสบ อ.นาน้อย จ.น่าน ถึงค่ำวันแรกด้วยการพักผ่อนนอนในบ้านพักกลางหุบเขา เช้ามืดตื่นแล้วก็ไปชมทะเลหมอกที่ดอยเสมอดาว ลงมาดื่มกาแฟ กินข้าวต้มเครื่อง แล้วก็ไปไหว้พระ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่แม่เฮียะ เปาอินทร์ ถวายปัจจัยแด่พระสงฆ์ผู้เจริญธรรม
ค่ำที่สอง พากันเดินทางจากหุบเขาห้วยสามสบขึ้นไปนอนบนยอดดอยสูงกว่า 1500 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง หนาวเย็นสมใจนึก ปกติ ดอกนางพญาเสือโคร่งจะบานสะพรั่ง แต่ปีนี้ฝนล่าทำให้ดอกสะดุดหยุดบานไปเสียนี่ จึงได้แต่ภาพหน้าคนมากกว่าดอกไม้แสนงาม แต่ทุกปี เราจะเปลี่ยนโปรแกรมเที่ยวเสมอ ไม่ซ้ำที่ว่างั้น
ดอกนางพญาเสือโคร่งน้อยไปนิดนะ
การเดินทางไปประชุมมูลนิธิเฮียะ เปาอินทร์ ปีที่ 19 แทบจะกล่าวได้ว่า สมาชิกเริ่มเบื่อหน่ายเพราะเป็นกิจกรรมซ้ำซาก ไม่หวือหวาเหมือนการไปท่องเที่ยวที่เปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยๆ การที่จะไปทำการใดซ้ำซากจึงต้องประกอบด้วยเจตนา อุดมการณ์ ปณิธาน มิเช่นนั้น ก็เหมือนว่าจะแหนงหน่ายหายไปทีละคนๆ
ปีต่อไป จะไปไหน ทำอะไรกันเล่า
แน่นอนว่าปีหน้า วันแรกค่ำคืนแรก ต้องพักแรมและนอนค้างที่หุบเขาห้วยสามสบ แต่หลังการประชุมและแจกของแก่ผู้สูงอายุ จะไปทางไหนกันดีหนอ นั่นคือปัญหาใหญ่ของกรรมการจัดงาน ดังนั้น ผู้จัดงานจึงต้องสรรหาสถานที่ที่จะอยากไปท่องเที่ยว เพื่อจูงใจให้สมาชิกอยากไปร่วมด้วยช่วยกัน
การประชุม คณะกรรมการมูลนิธิเฮียะ เปาอินทร์สามัญประจำปี 2560 (ปีที่ 20) วันที่อากาศต้องหนาว แน่นอนว่าต้องกลางเดือนมกราคม แต่การเดินทางไปไกลถึง 680 เมตร ถ้าไปแล้วนอนค้างเพียง 1 คืน บอกตามตรงว่าเหนื่อยเกิน ทางที่เหมาะสมจึงต้อง 4 วัน 3 คืน แล้วจะไปไหนกันเล่า เพื่อให้แปลกใหม่และเร้าใจจนอยากจะไปร่วมด้วยช่วยกัน
จุดสุดท้ายปลายฟ้าไกล เมืองน่าน พระธาตุเขาน้อย