http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 07/08/2024
สถิติผู้เข้าชม14,415,134
Page Views16,749,358
« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

บทบาท ออป.ภาคกลาง นำเสนอนวัตกรรมต้นแบบ”คนจนปลูกไม้เศรษฐกิจอย่างไร”

บทบาท ออป.ภาคกลาง  นำเสนอนวัตกรรมต้นแบบ”คนจนปลูกไม้เศรษฐกิจอย่างไร”

บทบาท ออป.ภาคกลาง

นำเสนอนวัตกรรมต้นแบบ”คนจนปลูกไม้เศรษฐกิจอย่างไร”

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

ผอ.จอง มงคลสกุลฤทธิ์

            ภาพเดิมขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้(ออป.) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บทบาทคร่ำครึคือ การปลูกป่าฟื้นฟูป่าสงวนเสื่อมโทรมขึ้นทดแทนและนำไม้จากสวนป่าดังกล่าว จำหน่ายเป็นรายได้เข้าสู่องค์กรทั้งขายไม้ซุงท่อน ไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องเรือน,บ้านสำเร็จรูป เสมือนหนึ่ง หน่วยงานกึ่งราชการ  ดำรงไว้แต่รูปแบบและแนวทางเก่าๆ เน้นการปลูกป่าใหม่ด้วยไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้สักและพวก

            เมื่อผมได้เดินทางไปกับท่านผู้อำนวยการ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคกลาง (ออป.ภาคกลาง) คุณ จอง มงคลสกุลฤทธิ์ พร้อมสื่อมวลชนกลุ่มหนึ่ง จึงได้ภาพใหม่ที่เปลี่ยนไปขององค์กรเก่าแก่

            “ภาพรวมของ ออป.เปลี่ยนไปแล้วครับ  จากพื้นที่รวม 1,158 ล้านไร่ (245 สวน) ทั่วประเทศ ปลูกป่าไม้สัก 498,000 ไร่ สวนป่าไม้ยางพารา 78,000 ไร่ สวนป่าไม้โตเร็ว/พลังงาน 107,000 ไร่ พื้นที่อนุรักษ์ 475,000 ไร่  โรงเลื่อยและโรงงานผลิตภัณฑ์ไม้ 5 แห่ง ภารกิจด้านช้างเลี้ยง และแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทั่วประเทศ 8 แห่ง”

            “ทำให้ได้ภาพรวมรายได้ปีพ.ศ.2561  จำนวน 1,867.36 ล้านบาท เป็นรายได้หลักจากสวนป่าที่ปลูกใหม่ 950.59 ล้านบาท และจากอุตสาหกรรมไม้ 266.44 ล้านบาท   ส่วนรายได้รองจากกิจกรรมต่างๆที่รวมถึงการบริการการท่องเที่ยว 650.33 ล้านบาท”


            สิ่งที่ผมตื่นเต้นมากกลับเป็น แนวคิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ นั่นคือ เปลี่ยนทฤษฎีการปลูกป่าแบบดั้งเดิม(Plantation)

การปลูกป่าด้วยระยะปลูกที่กำหนดจากการมุ่งเน้นผลอัตราการเจริญเติบโตของต้นไม้และรูปทรง  เมื่อเกิดปัญหากับชาวบ้านที่เคยบุกรุกแผ้วถางป่าทำไร่จึงปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบการปลูกป่าโดยอาศัยชาวไร่(Taungya Plantation)จากแนวทางปฏิบัติของป่าไม้พม่า    

             ทฤษฎีใหม่หลังสุดเป็นการปลูกป่าแบบวนเกษตร(Agroforestry)  กรมป่าไม้และออป. เคยปลูกป่าแล้วก็ให้ชาวไร่ปลูกพืชไร่แทรก แต่ระยะปลูกและชนิดพันธุ์ไม้ที่ปลูกยังเหมือนเดิม  ชาวไร่ทำไร่ได้เท่าที่ต้นไม้ป่าที่ปลูกยังไม่โตจนบดบังแสงแดด ก็ยังเป็นทำได้เพียง 2-3 ปี ปัญหายังครุกรุ่นเชื้อไฟยังไม่ดับสนิท เพราะทฤษฎีนี้ยังมุ่งเน้นเพื่อการจัดการสะดวกและเน้นรูปทรงต้นไม้ ด้วยระยะปลูก  2x2, 3x3,หรือ 4x4 เมตร เป็นหลัก


             คุณจอง เล่าว่า  พื้นที่สวนป่าแต่ละแห่งมีหมู่บ้านป่าไม้และสมาชิกในแต่ละหมู่บ้าน ส่วนใหญ่อาศัยทำงานรับจ้าง และอาศัยทำไร่ไปตามสวนป่าที่ปลูก ซึ่งปัญหาก็เกิดอย่างที่ปรากฏ ทำได้ไม่กี่ปี เรือนยอดต้นไม้แผ่กว้าง บดบังแสง ก็ไร้ที่ทำกินแม้จะใช้ทฤษฎีการปลูกป่าแบบเกษตร-ป่าไม้หรือวนเกษตร  ดังนั้น จึงเกิดการระดมสมองและวิสัยทัศน์ครั้งใหญ่  

             “ทฤษฎี วนเกษตร  วิสัยทัศน์ ให้ชาวไร่มีพื้นที่ปลูกพืชไร่ได้ตลอดไป  ไม้ป่าที่ปลูกต้องเป็นไม้อายุสั้นและไม้อายุยาว”  

             “จึงได้คิดกันต่อว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น เราจะกำหนดระยะปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจอายุยาวเช่นไม้สัก พะยูง  โดยจะไม่ต้องมีการตัดสางขยายระยะ  จึงกำหนดระยะปลูก 8x8 เมตร  ระหว่างนี้ ออป.จะหารายได้จากไหนมาใช้จ่ายและจะจัดระเบียบรูปทรงไม้มีค่าได้อย่างไร    จึงได้แนวคิดการปลูกป่าแทรกด้วยไม้เศรษฐกิจอายุสั้นเช่นไม้ยูคาลิปตัส ไม้กระถินเทพณรงค์ ฯลฯ  แบบ 2 แถวคู่ สลับฟันปลา ปรับเปลี่ยนหลายรูปแบบ  ชาวบ้านจะปลูกพืชไร่แทรกระหว่างแถวของไม้ป่ามีค่าอายุยาวและไม้ป่าอายุสั้น


              “ชาวไร่เก็บเกี่ยวพืชไร่ได้ตามปกติ 2-4 ปี และปีที่ 3 หรือ 4 ออป.ตัดไม้ป่ามีค่าอายุสั้นคือยูคาลิปตัสหรือกระถินเทพณรงค์ ฯลฯ เป็นรายได้คืนองค์การ  แต่เนื่องจากคุณสมบัติพิเศษของไม้ป่าอายุสั้นคือสามารถแตกหน่อจากตอได้  ก็เลี้ยงหน่อได้ต่อไป  ส่วนไม้มีค่าทางเศรษฐกิจอายุยาว ก็เจริญเติบโตไปตามมาตรฐาน  รูปทรงไม้ป่าอายุยาวก็ได้อาศัยไม้ป่าอายุสั้นช่วยจัดการ   ส่วนชาวไร่ก็ปลูกพืชไร่ได้เหมือนเดิม”

               ผมฟังการบรรยายสรุปของท่านผู้อำนวยการ ออป.ภาคกลางแล้วก็ได้แต่คิดถึงคำว่า นวัตกรรม จะเหมาะสมกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปลูกป่าของออป.หรือไม่  เป็นรูปแบบที่ ออป.ภาคกลางนำไปปลูกในแต่ละสวน  ชาวบ้านสมาชิกหมู่บ้านป่าไม้หรือใกล้เคียงที่ไร้ที่ทำกินไม่มีที่ดินของตนเอง ก็สามารถเข้ามาทำกินได้ฟรีในสวนป่าของออป.

               “ยิ่งกว่านี้นะครับ ออป.ได้รับการสนับสนุนจากทางรัฐบาลให้ส่งเสริมเกษตรกรปลูกป่าไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์ ด้วย โดยได้อนุมัติให้ส่งเสริมการปลูกและบำรุงไม้โตช้า จำนวน 5,940 บาท/ไร่ แบ่งจ่าย 3 ปี  รวมพื้นที่ 2,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ภาคกลาง 13 จังหวัด เกษตรกร 242 ราย และเป็นการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจโตเร็ว 3,500 บาท/ไร่ จำนวน 20,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 26 จังหวัด เกษตรกร 1,911 ราย”

                “ออป.จำเป็นต้องเข้ามาช่วยเกษตรกรในเรื่องวิธีการปลูกและการคัดเลือกกล้าไม้ที่จะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตที่แน่นอน เพื่อให้ได้กล้าไม้พันธุ์ดี โตเร็ว น้ำหนักเยอะ และวิชาการจัดการสวนป่าแก่ชาวบ้านด้วย”                 

                   ต่อคำถามว่า แล้วได้นำเอานวัตกรรมวนเกษตรที่ทำกันในแปลงปลูกของ ออป.มาใช้ส่งเสริมเกษตรกรด้วยหรือไม่ ก็ได้รับคำตอบว่า

                "ได้นำแนวคิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อยังประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรมาส่งเสริมและสนับสนุนทั้งเรื่องการคัดเลือกพันธุ์ไม้ และก็ให้เกษตรกรเลือกชนิดพันธ์ไม้ป่าทั้งอายุสั้นและอายุยาว ด้วยข้อมูลที่ทางพวกเรานำเสนอให้ตัดสินใจกันเองครับ” ผอ.จองกล่าวสรุป

                การปรับเปลี่ยนวิชาการจากทฤษฎีเก่าๆ ให้เป็นแนวทางปฏิบัติที่ลงตัว ไม่ยากแต่ไม่ง่าย ท่านผู้อ่านว่าจริงไหม  สวนป่าของออป.ทั่วประเทศใกล้ชิดประชาชนและเข้าถึงได้ง่าย สมควรไหมที่จะผลักดันโครงการ คนจนก็เป็นเจ้าของป่าเศรษฐกิจได้ โดยอาศัยองคาพยพของ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งต้องยอมรับว่า มุ่งเน้นที่ผลงาน ส่วนผลเงินนั้น ออป.ทำให้ชาวบ้านมีรายได้มากขึ้นแบบยั่งยืนได้จริง

               

                ขอขอบพระคุณ ผอ.ออป.ภาคกลาง จอง มงคลสกุลฤทธิ์ ที่เปิดเผยความจริงให้เป็นสาธารณะประโยชน์ผ่านสื่อ  สนใจโทร.0-2282-3243-7 ต่อ 239-241  หรือเปิด www.fio.co.th  เพื่อค้นหาข้อมูลพื้นฐานและประสานประโยชน์ของท่านได้  

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view