วัดวิษณุ ตรอกจันทร์ วัดในศาสนาฮินดูในประเทศไทย
โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ
ทั้งโลก มีชาวฮินดูมากกว่า 900 ล้านคน นับว่ามีประชากรโลกที่นับถือมากเป็นอันดับ 3 ของโลก ทั้ง ๆที่ไม่มีใครทราบเลยว่า พระศาสดาของศาสนาฮินดูนั้นเป็นใคร มีเพียงผู้เขียนคำบอกเล่ากล่าวความถึงธรรมปฏิบัติที่เรียกกันว่า พระเวท
เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Hinduism เป็นแบบพหุเทวนิยม อันประกอบไปด้วย ตรีมูรติ
ตรีมูรติ ประกอบไปด้วย พระพรหม ผู้สร้างโลก พระศิวะ ผู้ทำลาย และพระวิษณุ ผู้ปกป้องและรักษาโลก ชาวฮินดุจัดแบ่งวรรณะออกเป็น วรรณะพราห์ม ซึ่งเป็นผู้ทำพิธีกรรม วรรณะกษัตริย์ ผู้เป็นนักรบ วรรณะแพศย์ ผู้ทำการพาณิชย์ และศูทร เป็นกรรมกร และถ้าวรรณะใดข้ามไปแต่งงานกับวรรณะที่ต่ำกว่าก็จะถูกตราหน้าว่าเป็น จัณฑาล อันเป็นวรรณะต่ำที่สุด
ศาสนาฮินดูมีหลายนิกาย หลายลัทธิ เช่น ลัทธิ ไวศณพ ลัทธิ ไศวะ ลัทธิ ศักดิ ลัทธิ พรหม ลัทธิ คณพัทยะ ลัทธิ ภัทระ ลัทธิ สมารธะ ลัทธิ เชมัน และลัทธิ กายตรี
วันนั้น ผมได้ไปร่วมประเพณีประจำปีของชาวฮินดูในประเทศไทย ศาสนสถานตั้งอยู่ตรอกจันทร์ ตรงข้ามกับวัดปรก ยานนาวา ได้เห็นพลังศรัทธาของพี่น้องชาวอินเดียฮินดุที่ไหลหลั่งกันเข้ามายังที่จัดงานมากมาย แต่น่าแปลกไหม ไม่มีผู้หญิงชาวฮินดูเลยสักคนเดียว คงจะเป็นข้อห้ามทางปฏิบัติของศาสนาฮินดู
เวลาที่ไป บ่ายโมง แดดกำลังร้อนเปรี้ยง ดต.เดชา เปาอินทร์ อดีตตำรวจย่านนี้ เดินนำหน้าเข้าไปในชุมชนคนอินเดียว แต่ละคนผิวดำ สูงใหญ่ และแต่งตัวหลากหลายสไตล์ ใบหน้าเข้มแบบแขก ไม่ค่อยยิ้ม และกริยาค่อนข้างเฉยเมย แต่มีอยู่กลุ่มหนึ่งแต่งตัวเต็มยศด้วยเครื่องทรงแปลกตา เหมือนดาราในหนังแขกที่เคยฉาย
พระพุทธเจ้า
ภายในพื้นที่ศาสนสถานไม่กว้างขวางมากนัก มีอาคารหลักตั้งเด่นอยู่ทางทิศตะวันออก เป็นอาหาร 2 ชั้นรูปทรงตามแบบศิลปะของชาวอินเดียว มีบันไดเดินขึ้นไปสูงหลายสิบขั้น เมื่อเดินขึ้นไปถึง จึงพบว่าเป็นแท่นบูชา พหุเทวนิยม ดังนี้คือ ปีกขวามือเป็นแท่นบูชาพระพิฆเนศ ด้าน ปีกซ้ายมือเป็นพระแม่ทุรคา
ตรงกลาง เป็นแท่นบูชาด้านในเรียงลำดับตั้งแต่ พระหนุมาน พระสิตาราม พระวิษณุพระลักษณ์มี พระกฤษณะ พระพุทธเจ้า
วัดนี้ชื่อว่า วัดวิษณุ ตั้งอยู่เลขที่ 50 ซอยวัดปรก เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร สร้างเมื่อปีพ.ศ.2463 ด้วยหินอ่อนจากอินเดีย
เบื้องหน้ามีธรรมทูต 3 นาย นั่งรอชาวฮินดูเข้ามากราบไหว้ แล้วเจิมหน้าผากตรงหว่างคิ้วด้วยสีแดงเรียกว่า บันดิ ติลักษณ์ ซันดูร์ ติลักกัม บินติยา กุมกุม แต่ชาวทมิฬจะเรียกว่า ติก หรือ พอททู
ซึ่งการเจิมหน้าด้วยสีแดงนี้อาจเจิมจุดเดียว หรือทำรูปตัวยู หรือเป็นเส้นขวาง 3 เส้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับความนิยมของแต่ละชุมชน
ป้อนน้ำนมผสมวัตถุมงคล 5 ชนิดให้ลิ้มรส และขนมสีทองอีก 1 ลูก ถือว่าเป็นศิริมงคลแก่ชีวิตของเขา บางคนก็สั่นกระดิ่งส่งบูญไปยังเบื้องสวรรค์ แล้วก็เดินไปกราบไหว้รูปเคารพตามศาสนาฮินดูซึ่งการกราบของชาวฮินดูก็แตกต่างไปจากชาวพุทธหรือศาสนาอื่นๆดังในภาพจะเห็นเด็กน้อยกราบอยู่
เสียงประกาศเป็นภาษาอินเดีย เจ้าหน้าที่แต่งชุดอย่างเท่ห์ทำหน้าที่พิธีกร มีการประชันหนุ่มล่ำบึกกันบนกองทราย เรียกว่า เปรียบมวย (ปล้ำ) ซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้โบราณของชาวอินเดีย บนกองทรายที่อยู่กลางลานคือเวทีที่นักมวยจะประฝีมือกัน ท่ามกลางชาวอินเดียที่นั่งใต้ร่มเงาเต็นท์ แต่นักมวยต้องสู้กันกลางแจ้ง
เมื่อเปรียบมวยได้คู่ ก็ผลัดกางเกงขายาวออก นุ่งแต่กางเกงขาสั้นๆ รัดรึงใจ เสียงระฆังดังขึ้น กรรมการเดินวนรอบนอกกองทราย นักมวยเดินไปประจันหน้ากันบนกลางกองทราย และแล้ว ศิลปะการต่อสู้ด้วยวิชามวยปล้ำก็เริ่มขึ้น เมื่อปล้ำกันจน กรรมการตัดสินได้ผู้ชนะ นักมวยก็เดินไปหาผู้นั่งดู แบมือขอเงินรางวัล แปลกดี
แต่เศรษฐีแขกเหล่านั้น ได้เตรียมแลกเงินมาแล้ว กำไว้เป็นปึกในมือพร้อมแจกให้กับนักมวย สักครู่มีตำรวยเนเข้ามา 2 คน เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการพนันกันขึ้น
มวยปล้ำยามเที่ยง
ผมไม่ได้อยู่จนถึงมวยคู่สุดท้าย แต่ได้กลับกันออกมาก่อน ด้วยว่าทั้งร้อนและเห็นว่าเป็นศิลปะการต่อสู้ของชนชาวอินเดีย ปล้ำกันแบบถนอมเนื้อถนอมตัว ไม่มันอย่างมวยในจอทีวีที่ถ่ายทอดสดอย่างทุกวันนี้เลย แต่อย่างไรก็ดี ได้เห็นชัดเจนว่า ไม่ว่าจะเป็นชนเผ่าใดเชื่อชาติใด ล้วนมีศิลปะ วัฒนธรรมการแสดงและการต่อสู้ด้วยกันทุกชาติไป