http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 07/08/2024
สถิติผู้เข้าชม14,277,349
Page Views16,604,015
« September 2024»
SMTWTFS
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930     
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ศิลปะในมูลโคอินเดีย โดยสาวภูไท เรื่อง-ภาพ

ศิลปะในมูลโคอินเดีย  โดยสาวภูไท เรื่อง-ภาพ

ศิลปะในมูลโคอินเดีย

“สาวภูไท”

              อินเดีย มีเนื้อที่กว้างใหญ่กว่าประเทศไทยประมาณ ๖ เท่า  แต่มีประชากรถึงพันกว่าล้านคน  มากกว่าไทยหลายเท่า  หากว่าชาวอินเดียปลูกบ้านหลังเล็กใหญ่กระจัดกระจายใช้พื้นที่ไม่เป็นสัดส่วนอย่างเราก็คงเหลือพื้นที่ช่องว่าทางการเกษตรไม่มากนัก 

            นับเป็นโชคดีที่ชาวอินเดียชอบมีบ้านอยู่ใกล้ชิดติดกัน  รวมเป็นกระจุกอยู่ในเมือง  หรือชุมชนหมู่บ้าน  และแต่ละบ้านก็มีสมาชิกอยู่รวมกันมากมายเป็นกลุ่มเป็นก้อน  แถมยังแบ่งเนื้อที่ให้สัตว์เลี้ยงอย่างวัว-ควายได้อยู่ด้วยเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก ที่เราได้เห็นในเขตชนบทภาคเหนือตอนไปเยือนจึงเป็นทุ่งสีเหลืองทองของมัสตาร์ดกว้างใหญ่สุดสายตา  สุดขอบฟ้า  สลับกับทิวตาลต้นสูงใหญ่ที่ยืนหยัดท้าทายสิ่งปลูกสร้างที่มักมายืนค้ำหัวอยู่กลางทุ่ง  นั่นคือท่อโรงสี  กับท่อของเตาเผาอิฐ

ผักงามและต้นมาสตาร์ดค่ะ

            สัตว์เลี้ยง  คือสัตว์ที่คนนำมาเลี้ยงนั้นมีมาแต่ปางไหนก็สืบค้นไปไม่ถึง  เพราะไม่มีมนุษย์ใด ๆ ในยุคแรกเริ่มตั้งแต่วิวัฒนาการแยกกันเด็ดขาดจากบรรพบุรุษวานรทำการบันทึกไว้  หมาอาจเป็นสัตว์ชนิดแรกที่มนุษย์นักล่านำมาเลี้ยงไว้ให้มันช่วยล่า  ก่อนการอาจหาญจับสัตว์ใหญ่ ๆ อย่างวัว ควาย ช้าง ม้า มาใช้งาน  หรือการนำสัตว์สวยงามน่ารักอย่างนก หนู กระต่าย กระแต แม้แต่กิ้งก่า และตุ๊กแกในปัจจุบันมาเลี้ยงเพียงให้ความบันเทิงเริงใจ  นอกจากการจับมาเป็นอาหาร  หรือเป็นสินค้าแลกเปลี่ยนจนสัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ไปแล้วจากโลกนี้โดยสิ้นเชิง

            บ่อยครั้งที่เลี้ยงแล้วก็ผูกพัน  เพราะสัตว์มันก็มีชีวิตจิตใจ  เกิดความรัก ความผูกพัน และห่วงใยระหว่างคนผู้เลี้ยง  และสัตว์ที่ถูกเลี้ยง  คนไม่น้อยที่รักหมา  มีหมาเป็นเพื่อน  แม้กระทั่งรักหมามากกว่าคน  มีใครมาทำร้าย หรือพรากมันไปก็เสียอกเสียใจ  เสียน้ำตา...ขนาดทำอนุสาวรีย์ไว้ให้ระลึกถึงก็ยังมี

ข้างหลังเธอคือมูลโค

            เนี่ย...สาวภูไท นั่งรถไฟกลับบ้านผ่านทุ่งกุลาเห็นวัวควายยืนแทะเล็มหญ้าอยู่กลางทุ่งยังอุ่นใจว่าควายเหล็กยังไม่มาไล่ไปจนหมดสิ้น สูญพันธุ์เด้อ... สมัยเป็นเด็กเคยมีวัวตัวโปรดชื่อเจ้าด่าง  เพราะหน้ามันมีสีขาวแต้มเป็นจุดเหมือนคนหน้าด่าง  รักมันมากอาบน้ำให้มันทุกครั้งที่รู้สึกว่ามันจะร้อน

            ปัจจุบันในชนบทไทยบางหมู่บ้านก็ยังคงมีพิธีกรรมสู่ขวัญวัว-ควาย  เพื่อแสดงความรัก  ความกตัญญูต่อมัน  ครั้งหนึ่งที่อุบลราชธานีมีการแข่งขันว่ายควาย  คือจับควายมาว่ายน้ำข้ามแม่น้ำมูลแข่งกัน  และดำริว่าจะจัดให้เป็นประเพณีอันดีงามประจำจังหวัดสืบต่อไปทุกปี  ปรากฏว่าประชาชนอุบลราชธานีต่อต้าน  หาว่าทารุณสัตว์ ...เห็นไหมนั่นแหละก็คนรักสัตว์

ศิลปะในมูลโค

          ก็ดั่งเช่นชาวอินเดียรักโค(วัว)ของเขา รักและหวงแหน  ใครจะมาทำร้ายต้องผ่าน(ข้า)ผู้เป็นอินเดียเสียก่อน เพราะโคของฉันมีบุญคุณมากหลายนะนายจ๋า...นอกจากให้นม เนยอาหารยอดอาหาร แล้ว  ยังให้ฉี่และมูล(ขี้)ที่เป็นประโยชน์มากหลาย นม เนย ไม่ต้องพูดถึงเพราะเป็นที่รู้กันทั้งโลกอยู่แล้ว ในด้านความเชื่อเฉพาะโคนั้นคือสัตว์พาหนะของพระศิวะ  ฉี่โคใช้ล้างบาปได้

           ฉี่ หรือ มูตรโค  มีการใช้เป็นยารักษาโรคมาแต่ครั้งพุทธกาล  นับเป็นภูมิปัญญาอินเดียโดยแท้  และยังใช้มาจนปัจจุบันซึ่งเป็นที่ยอมรับในสรรพคุณและพัฒนาร่วมกับมูลโคเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่าง ๆ มากมายทั้งสบู่ ยาสีฟัน  แชมพูสระผม  ครีมบำรุงผิว  ฟอกผิว  รวมทั้งเป็นยาเม็ด ยาน้ำรักษาสารพัดโรคอีกด้วย

          

            เหตุนี้จึงมีการเก็บถนอม สะสม ไว้ใช้งาน หรือซื้อขายกันอย่างเป็นระบบ  มีการรองฉี่โคใส่ขวด ใส่ปี๊บ  มีการเก็บมูลโคมาปั้น  มาตากตามถนนหนทาง  หรือแม้แต่บนผนังบ้าน  หลังคาบ้าน  หากผ่านไปตามถนนชนบทมองเห็นงานหัตถกรรมสีคล้ำ ๆ รูปร่างกลม ๆ แบน ๆ เท่าก้อนอิฐวางตั้ง  เรียงเป็นแถว เป็นแนว  หรือกองเทินกันขึ้นเป็นรูปเจดีย์บ้าง  เป็นเหมือนกองฟางบ้าง ให้รู้ไว้นั่นแหละศิลปหัตถกรรมอันเกิดจากฝีมือ

           ท่านพระมหาอุเทน  ปัญญาปริทัศน์ กล่าวไว้ในหนังสือ “ธรรมยาตรารำลึก แดนพุทธภูมิ” ถึงวิถีชีวิตอินเดียที่ท่านได้พบว่า  “ชาวภารตะชนทางชนบท  มีชีวิตแนบสนิทกับธรรมชาติจริง ๆ  พวกเขาใช้ทรัพยากรทุกอย่างคุ้มค่า  ใบไม้ที่แห้งเหี่ยวหล่นลงมา  เศษใบไม้ใบหญ้าที่อยู่บนพื้น  จะกวาดเก็บ  นำมาคลุกเคล้ากับมูลโคสด  ปั้นเป็นรูปวงกลม  กดแปะไว้ตามผนังบ้านดิน  ปล่อยให้มันแห้งหล่นลงมาเอง  จึงเก็บมากองรวมไว้สำหรับเป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม...ด้วยเหตุนี้(เหตุแห่งความรักธรรมชาติ)พวกเขาจึงไม่ตัดต้นไม้ทิ้งเพื่อทำถนน  เพราะต้นไม้เป็นชีวิตส่วนหนึ่งของพวกเขา...แม้จะดูต่ำต้อยด้อยพัฒนา  แต่ทว่าส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อม  สภาพแวดล้อมไม่ถูกทำลาย  พวกเขารักษาสภาพแวดล้อมเอาไว้ได้”

            ภูมิปัญญาที่ไม่เคยขาดสายนี้ส่งผลให้อินเดียเป็นประเทศแรกที่มีการใช้ก๊าซชีวภาพอย่างเป็นระบบ  โดยในปี ค.ศ. ๑๘๕๙  มีการสร้างระบบ Anaerobic digestion (AD) ขึ้นเป็นครั้งแรกในนิคมโรคเรื้อน Matunga ที่บอมเบย์  เพื่อผลิตพลังงานชีวภาพใช้ในนิคมนั้น           

            คุณกิตติชัย  ซิงห์  ไกด์ของเราเล่าถึงการกำจัดแมลง ศรัตรูพืชของเกษตรกรอินเดียว่า “เกษตรกรพื้นบ้านของเราใช้ขี้วัวผสมกับเศษไม้ เศษหญ้าแห้งเผาแล้วเอาขี้เถ้า ฝุ่นผง ที่ได้จากการเผานี้มาโปรย ๆ ใส่แปลงนา ไร่ ที่มีหนอน แมลงมาเจาะไชพืชผักของเขา  โดยโปรยหว่านตอนเช้าตรู่ที่ละอองหมอกยังปกคลุมเปียกชื้นในผืนทุ่ง  ฝุ่นผงนี้นอกจากกำจัดศรัตรูพืชแล้วยังจะลายกลายเป็นปุ๋ยบำรุงดินซะอีก ได้ทั้งขึ้นทั้งล่องเลย”

             การจัดเก็บ  สะสมมูลโคจึงเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตดังกล่าว  ศิลปะการปั้น  การเรียงตากให้แห้ง การเก็บกองไว้ให้เป็นระบบสวยงามจึงเกิดขึ้นเป็นศิลปะในมูลโคดั่งว่า

๐๐๐

 

           

   

 

 

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view