ไปฟังเพลงอีแซว
ที่บ้านนาลาว รีสอร์ท อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ
ย้อนตำนานเพลงอีแซว ยุคแม่บัวผันจันทร์ศรี
บ้านผมอยู่บ้านห้วยคันแหลน ตำบลห้วยคันแหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ตำบลเดียวกับนางบัวผัน จันทร์ศรี (นามสกุลสามีคนที่ 1)คนบ้านห้วยโรง ซึ่งอยู่ไม่ไกลกัน หน้าตานางบัวผันนั้นคล้ายๆแม่ผม ไว้ผมทรงเดียวกัน อายุอานามก็ใกล้ๆกัน แม่บัวผันเกิดเมื่อปีพ.ศ.2463 อ่อนกว่าแม่ผมหลายปี พอถามว่าทำไมหน้าตาคล้ายๆกัน แม่ตอบว่าเป็นญาติกัน ผมร้องอ๋อ แล้วก็จำได้ตลอดมา
นางบัวผันเล่าไว้เมื่อปีพ.ศ.2546 ว่า เดิมไม่ได้เรียกกันหรอกว่าเพลงอีแซว การร้องรำทำเพลงก็หัดเอาจากพ่อกับแม่และพี่ชาย(บัวเผื่อน)ซึ่งเก่งทางร้องรำทำเพลง อันเป็นการกล่อมเกลาเบ้าหลอมมาจากครอบครัว จนได้เป็นศิลปินแห่งชาติ ปีพ.ศ.2533 สาขาศิลปะการแสดง(เพลงพื้นบ้าน) ประจำปี พ.ศ.2533 นามสกุลเดิม โพธิ์พักตร์
ยุคขวัญจิต ศรีประจันต์
นางขวัญจิต เดิมชื่อนางเกลียว เสร็จกิจ เกิดปีพ.ศ.2490 ต.วงน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เริ่มร้องเพลงอีแซวมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2505 อายุ 15 ปี โดยฝากตัวเป็นศิษย์นางบัวผันและนายไสว ด้วยไหวพริบปฏิภาณและน้ำเสียงดีเลิศ ประกอบกับมีความมานะพยายาม จึงเริ่มมีชื่อเสียง เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-เพลงอีแซว) ปี 2539
ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
นางขวัญจิตอ่านหนังสือได้ จึงได้เปรียบกว่านางบัวผัน เธอจึงแต่งเพลงได้ด้วย จนถึงเวลาหนึ่งซึ่งรุ่งโรจน์สุดๆ เป็นนักร้องลูกทุ่ง ได้แสดงภาพยนตร์ แต่งเพลงมากมายเช่น ข้าวเพชฌฆาต น้ำตาดอกคำใต้ สาวสุพรรณ มีวงดนตรีเป็นของตนเอง ประยุกต์เพลงอีแซวกับเพลงลูกทุ่งได้อย่างน่าอัศจรรย์ ได้อุทิศตนเพื่อสืบสานเพลงอีแซวให้กับสถานศึกษาต่างๆ
นั่งฟังเพลงอีแซวหน้าเรือนไทย
พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็น นักร้องดีเด่นกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ ๒ จากเพลงกับข้าวเพชฌฆาต รับพระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งจัดงานโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับโล่เกียรติคุณ ฐานะนักร้องลูกทุ่งดีเด่นของ จ.สุพรรณบุรี
พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับการประกาศเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน- อีแซว)
พ่อเพลงฝ่ายชาย
ผลงานภาพยนตร์เพลงสวรรค์นางไพร (2514) , จำปาทอง (2514) , น้องนางบ้านนา , จำปาสี่ต้น , กลัวเมีย , บุหงาหน้าฝน (2515) , อยากดัง ,มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. นอกจากนั้นยังเคยร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ที่เป็นเพลงเด่นๆหลายเพลง อาทิ
“คิดถึงคนอยากดัง” , “รักชั่งกิโล” , “ผัวหาย” ฯลฯ
แม่เพลงฝ่ายหญิงคอหนึ่งสองสาม
ประเภทเพลงพื้นบ้าน ได้แก่ เพลงชุดปัญหาหัวใจ อานิสงส์ทอดกฐิน ประเพณีไทย น้ำตาหมอนวด ประวัติเมืองสุพรรณ อีแซวประยุกต์ พระมาลัยโปรดนรก พระคุณพ่อแม่ อานิสงส์บรรพชา ประเพณีแต่งงาน เต้นกำรำเคียวเกี่ยวมดตะนอย ฯลฯ
ประเภทเพลงแหล่ ได้แก่ แหล่มัทรีเดินดง แหล่ประวัตินาค แหล่กัญหาชาลี แหล่ทำขวัญนาค แหล่ถาม-ตอบพิธีแต่งขันหมาก แหล่ถาม-ตอบเรื่องการแต่งาน ฯลฯ
ยุคขวัญจิต ศรีประจันต์ พัฒนาเรื่องเครื่องแต่งตัวจนสวยงาม ด้วยฝ่ายชายจะสวมเสื้อสีสันฉูดฉาด คอกลม นุ่งผ้าโจงกระเบนสีสันตามชอบ พาดไหล่หรือคาดเอวด้วยผ้าขาวม้าหลากสี ส่วนฝ่ายหญิงก็จะสวมเสื้อคอกว้างสีสันสวยงาม นุ่งผ้าโจงกระเบนหลากสีเช่นกัน อาจมีหรือไม่มีผ้าคาดเอวสีสวย
นายธวัชชัย อรัญญิก รองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ยุคหลังขวัญจิต ศรีประจันต์
ว่ากันตามเนื้อผ้า เพลงอีแซวแทบจะเหลืออยู่เพียงในจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ยังมีครูอาจารย์พยายามสืบสานกันไว้ จนเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของเมืองสุพรรณบุรี ผมโชคดีที่ได้ตามไปชมเพลงอีแซวยุคหนุ่มๆสาวๆ ที่บ้านนาลาว รีสอร์ท อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เขาจัดงานเลี้ยงแบบบ้านๆ ด้วยการออกร้านขนมจีน น้ำยาปลาช่อน ระหว่างนั่งชมการแสดง
พนักงานต้อนรับ
แทบไม่เชื่อเลยว่า หนุ่มสาวที่ออกมาแสดงเหล่านั้นยังเป็นนักศึกษากันอยู่ในสถาบันต่างๆ แต่งตัวสวยงามตามแบบฉบับเพลงอีแซว เครื่องดนตรีก็มีแค่ที่เห็นในภาพ พ่อเพลงแม่เพลงแบ่งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยบทเพลงเริ่มต้นที่บทไหว้ครู ต่อด้วยบทเกริ่น บทประ คือปะทะคารมกัน บทลาจาก และบทอวยพรแขกเหรื่อที่มาชม
การแบ่งฝ่ายนั้นประกอบด้วยพ่อเพลง และแม่เพลง เป็นคอหนึ่ง ตามด้วยคอสองคอสามคอสี่ ก็คือพ่อเพลงแม่เพลงสลับถัดกันไป เปลี่ยนกันร้องผลัดกันรำ บทเพลงส่วนใหญ่เป็นการเกี้ยวพาราศีของหนุ่มสาว การต่อว่าต่อขาน เดิมทีเดียวมักเล่นกันในระหว่างทำงานเช่นลงแขกสร้างบ้าน ลงแขกเกี่ยวข้าว หรืองานสงกรานต์วันสนุกสนาน งานประเพณีประจำปีของวันงานโกนจุก โกนผมไฟ แล้วแต่ว่าจะมีงานใด นึกสนุกกันขึ้นมาก็ลุกขึ้นว่ากันได้
คอกระเช้าคอยบริการ
แต่ก่อนร่อนชะไรไม่เคยต้องจ้างกัน ไปช่วยกันร้องรำทำเพลงให้ครึกครื้น ภายหลังจึงมีการจ้างเป็นตัวเงิน เป็นธุรกิจมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างมีค่าใช้จ่ายจึงต้องวิวัฒนาการไปตามความเจริญที่ก้าวล่วงจนกู่ไม่กลับ จากการเดินไปร่วมกันร้องด้วยความสนุกสนานอย่างแม่บัวผันก็กลายเป็นต้องจ้างไปร้องอย่างยุคขวัญจิต
ชุดไทยเดิมสายเดี่ยวรุ่นเก๋า
ความล่อแหลมจะเสื่อมสูญ
นักแสดงลำตัด นักเพลงอีแซว เพลงพื้นบ้านล้านถิ่น ที่จุดไต้ให้แสงสว่างจนถึงก่อกองไฟให้แสงสว่าง กำลังจะสูญหายไปกับวัฒนธรรมใหม่ที่ก้าวย่างผ่านเครื่องดนตรีสากล และแสงไฟจากเครื่องปั่นไฟฟ้า และไฟฟ้าที่พาดสายระโยงรยางค์ ปรับประดาสีสันพราวแพรว เรียกคนชมไอย่างอัศจรรย์
ขนมจีนน้ำยาปลาช่อน
เพลงลูกทุ่งปนระกอบดนตรีและหางเครื่องแซงหน้าไปไกล โชคดีเหลือหลายที่ไปชมในครั้งนี้ จึงอยากบันทึกเรื่องราวเอาไว้ให้แฟน www.thongthailand.com อ่านและได้ชมภาพกิจกรรมต่างๆ ได้ชิมขนมจีนน้ำยาปลาช่อนจริงๆ ตามด้วยขนมตาลห่อด้วยใบตาล โวว โวว โวว ขอบคุณป้าอี๊ด บ้านนาลาว รีสอร์ท โทร.081-8808982
ป้าอี๊ด
ใครอยากไปพักผ่อนแบบที่ผมไปมานี้ก็ติดต่อป้าอี๊ด สุดยอดใจดี เผื่อป้าจะจัดให้ได้อย่างงดงาม จองบ้านพักแรมคืนไปด้วยเบ็ดเสร็จ เช้าตรู่ นิมนต์ระมาบิณฑบาตต้วย แต่สนนราคาค่าเหมาจ่ายทั้งหมดนั้น ป้าอี๊ดคิเท่าไร คงต้องว่ากันไปตามเพลงละคร๊าบ
นายกเทศบาลท้าวอู่ทองและคณะ
บิณฑบาต
บ้านนาลาว รีสอร์ท