http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 07/08/2024
สถิติผู้เข้าชม14,276,451
Page Views16,603,057
« September 2024»
SMTWTFS
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930     
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ลาวโซ่ง 1. บ้านในพิพิธภัณฑสถานอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

ลาวโซ่ง 1. บ้านในพิพิธภัณฑสถานอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี  โดย ธงชัย เปาอินทร์  เรื่อง-ภาพ

ลาวโซ่ง 1. บ้านในพิพิธภัณฑสถานอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี 

โดย ธงชัย เปาอินทร์  เรื่อง-ภาพ

                       ถ้าท่านเป็นอีกคนหนึ่งที่ชมชอบเรื่องชาติเชื้อเผ่าพันธุ์ของเพื่อนร่วมโลก ท่านคงอยากรู้ว่า ลาวโซ่ง หรือ ไทยทรงดำ ที่เรียกขานชาติเชื้อเผ่าไทอีกเผ่าพันธุ์หนึ่งในแผ่นดินไทย เขาเหล่านั้นเป็นใคร เขามาจากไหน หรือว่าเป็นพงษ์เผ่าเหล่ากอเก่าแก่ของแผ่นดินสยาม หรือเคลื่อนย้ายถิ่นฐานจากบ้านช่องที่เคยอยู่อู่ที่เคยเนา แต่วันนี้ ลาวโซ่งมีชีวิตความเป็นอยู่กลมกลืนดุจพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกัน

                ในความหมายของคำว่าลาวโซ่ง มีอะไรที่แตกต่างไปคนไทยอย่างไร

     

ต้นแบบเรือนหรือเฮือนลาวโซ่ง

                ย้อนอดีตไปก่อนปีพ.ศ.2522 ลาวโวซ่งอยู่ในสิบสองจุไทอาณาจักรเวียดนาม ครั้นล่วงปีพ.ศ.2522 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดบัญชาการให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(ร.1) กวาดต้องชาวลาวโซ่งจากเมืองทันต์(ซือหงีในภาษาเวียดนาม) และเมืองม่วย ตามยุคสมัยเก็บผักใส่ซ่าเก็บข้าใส่เมือง แล้วให้ไปอยู่ในพื้นที่เพชรบุรี

ขอกุดหน้าบ้านลาวโซ่ง

                ลาวโซ่งถูกกวาดต้อนอีกหลายครั้ง ตั้งแต่สมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 

                 ปีพ.ศ.2335 สมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  อพยพจากเมืองแถนหรือเมืองแถง ส่งไปอยู่ หนองเลา หนองปรง เพชรบุรี   

                 ปีพ.ศ.2371 สมัยรัชการพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.3) ไปอยู่ที่เขาย้อย เพชรบุรี

                 ปีพ.ศ.2378 ลาวโซ่งจากเมืองแถนมาอยู่ที่เพชรบุรี ปีพ.ศ.2379 ลาวโซ่งถูกกวาดต้อนมาอยู่ที่เพชรบุรีอีก และปีพ.ศ.2381 เป็นการเคลื่อนย้ายครั้งใหญ่ ลงมาอยู่ที่เขาย้อย  เพชรบุรี โอ้ ลาวโซ่งแท้ที่จริงคนไทในต่างแดนแถวๆเมืองแถนชายแดนเวียดนามนี่เอง

หน้าเรือนลาวโซ่ง

                  ต่อมาได้พบว่า ลาวโซ่งได้กระจายเคลื่อนย้ายไปอยู่หลายแห่งแหล่งที่เช่น อำเภอสองพี่น้อง อำเภออู่ทอง จ.สุพรรณบึรี อำเภอกำแพงแสน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม บ้านหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร (เพียงแห่งเดียว) อำเภอจอมบึง อำเภอบางแพ อำเภอดำเนินสะดวกและอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี อำเภอบางระกำ อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ฯลฯ

โครงหลังคาเครื่องไม้

                  วันนี้ ลาวโซ่งหรือไทยทรงดำ หรือภูไท กระจัดกระจายขยายเผ่าพันธุ์ผสมผสานกันไปทั่วจนแทบจะแยกแบะไม่ออกแล้วว่า เป็นใครมาจากไหน ล้วนเป็นลูกผสมเสียสิ้น ผสมไทยบ้าง ผสมจีนบ้าง ผสมลาวบ้าง ผสมกันจนถึงฝรั่งมังค่าและนานาเผ่าพันธุ์ ล้วนนำมาซึ่งความห่างของสายเลือด ลูกผสมเหล่านี้จึงมีสมอง สติปัญญา และลักษณธทั่วไปแข็งแรง  เข้มแข็ง และปรับแต่งยีนได้อย่างกว้างขวาง  

     

ชายคาเรือนใช้มัดไม้ไผ่เป็นเกลียว และครัวไฟและเครื่องใช้

                   ที่พิพิธภัณฑสถานอู่ทอง มีบ้านชาวลาวโซ่งปลูกให้เห็นเป็นแบบอย่าง พร้อมด้วยวิถีชีวิตเรียบง่ายให้ชม  จึงจะขอกล่าวถึงเฉพาะเรื่องบ้านลาวโซ่ง อันมีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมการอยู่อาศัย  วิถีชีวิตการทำมาหากิน  เครื่องมือทำมาหากินที่สร้างจากวัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ  การใช้เครื่องทุ่นแรงประเภทยวดยานพาหนะ  วัฒนธรรมการแต่งกายด้วยเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งมีความใกล้เคียงกับชนเผ่าไททั่วๆไป 

   

โต๊ะเซ่นบูชาและตุ่มน้ำบนชานหน้าบ้าน

                   "บ้าน"หรือ"เฮือน"ของชาวลาวโซ่งเป็นบ้านชั้นเดียวใต้ถุนสูง สร้างด้วยวัสดุจากธรรมชาติ ประกอบด้วยเสาไม้เนื้อแข็งที่นิยมตัดให้มีง่ามเพื่อใช้เป็นตัวพาดคานและค้ำยัน คานเป็นไม้เหลาจากไม้เนื้อแข็ง  พื้นเป็น"ฟาก"ที่ทำจากไม้ไผ่ซางหรือไผ่บง ฝาผนังบ้านเป็นฟากเช่นกัน โครงหลังคาประกอบด้วยไม้เนื้อแข็งและไม้ไผ่ทุบแต่มัดรวมกันเป็นเกลียว หลังคามุงด้วยหญ้าคา แต่หลังคามีเอกลักษณ์สองอย่างคือ

เสาเรือนลาวโซ่ง

                   หลังคาหน้าจั่วมี "ขอกุด" ติดตั้งไว้เป็นเครื่องหมายบ่งบอกว่า เป็นบ้านของชาวลาวโซ่ง เช่นเดียวกับ"กาแล"ของชาวเหนือ และขอบหลังคาวาดโค้งจนครอบคลุมประตูและหน้าต่าง เพื่อป้องกันลมฝนเมื่ออากาศหนาวเย็น นอกจากนั้น ภายในบ้านยังประกอบด้วยบันไดทางขึ้นของคนและของผีเรือน ห้องก็แบ่งเป็นห้องของคนและผีเรือน มีโต๊ะเตี้ยๆเป็นแท่นบูชา  มีครัวไฟที่กั้นด้วยไม้เนื้อแข็ง ใส่ด้วยดินและตั้งก้อนเส้าเอาไว้ตั้งไฟ

      

เครื่องแต่งกายชายหญิง  

                   อุปกรณ์หรือเครื่องมือการทำกินเช่น กระเหล็บ กระบุงใส่วัสดุการเกษตรเช่นข้าวเปลือก พืชผักผลไม้  กระบวยตักน้ำ กระชอนร่อนหรือกรอง ตะข้องใส่กุ้งหอยปูปลา เสียม จอบ กระด้งขนาดใหญ่ใช้ตาก กระจาดเอาไว้ร่อนหรือฝัดข้าวเพื่อไล่ให้เปลือกหรือละอองหล่นออกไป  ห้องนอนส่วนใหญ่มีห้องเดียว ด้านหลังของตัวเรือนมีที่นั่งเล่นหรือนั่งหลบจากสายตาผู้มาเยือน กรณีที่ไม่เกี่ยวข้องต้องมาต้อนรับ 

    

นั่งกินอาหารร่วมกัน

                   ชานหน้าบ้านจะรองรับบันได้ทางขึ้น ซึ่งก็มีทั้งทางขึ้นของผีและของคน มีซุ้มครึ่งท่อน ใกล้ๆกันตั้งโอ่งน้ำเอาไว้ใช้สอยและดื่มกิน ฝากั้นด้วยไม้ไผ่กลมมัดแต่งเป็นเหมือระแนงไม้จริง ป้องกันการเข้าถึงจากบุคคลภายนอกได้ มัดหรือขัดด้วยดานหรือหวายหรือโซ่หรือเชือก บ้านที่ปูพื้นด้วยฟากนั้นเกิดประโยชน์มากเมื่อมีผู้บุกรุก จะเกิดเสียงดังทำให้คนหรือสุนัขตื่นขึ้นจากเสียงกรอบแกลบๆ 

แม่หญิงลาวโซ่งถักทอผ้าด้วยหูก

                   ใต้ถุนเรือน ยกสูง นิยมตั้งหูกทอผ้า แม่หญิงลาวโซ่งจะถักทอเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มใช้เองจากเส้นฝ้ายที่ปลูกขึ้นมากันเอง เป็นหนึ่งในวิถีชีวิตของแม่หญิงลาวโซ่งที่ต้องเรียนรู้ ส่วนจะถักทอด้วยลวดลายใดสำหรับชายและหญิงนั้นแตกต่างกันไป มีแคร่ไม้ไผ่ขนาดนั่งรวมกันได้ 4-5 คน เพื่อนั่งล้อมวงคุยกันหรือกินอาหารร่วมกัน  นอกจากนั้นยังมีเครื่องมือที่ใช้ตำข้าวเปลือกให้เป็นข้าวกล้อง แล้วฝัดด้วยกระด้งให้ขี้แกลบกระจายออกไป 

ครกกระเดื่องตำข้าว

                   อุปกรณ์ดังกล่าวคล้ายคลึงกับอุปกรณ์ของชาวไทยและชาวลาว แม้กระทั่งชาวเขาหลายเผ่า เรียกว่า "ครกกระเดื่อง" ตัวครกทำด้วยไม้ทั้งต้นตัดมาท่อนหนึ่ง ขุดให้เป็นเบ้าลึกสำหรับใส่ข้าวเปลือกที่จะตำ  กระเดื่องประกอบด้วย หัวครกยาวราวๆ 60-70 ซม.ปลายครกมน เจาะรูให้สอดใส่ด้วยคานเหยียบซึ่งยาวราวๆ 2 เมตร ตรงกลางสอดขวางด้วยคานกระเดื่องที่สอดมาจากเสาเตี้ยๆ ท่อนปลายคานเป็นปลายไม้แบน ใช้เท้าเหยียบเพื่อยกหัวครกด้วยระบบคานดีดคานงัด แล้วปล่อยให้น้ำหนักหัวครกตกกระแทกข้าวในครก

                   ระหว่างการตำข้าวด้วยครกกระเดื่อง แม่หญิงชาวลาวโซ่งต้องทำทุกวัน เรียกว่าทำวันกินวัน แต่ด้วยวิถีชีวิตที่จำเจและจำเป็นเช่นที่กล่าวมานี้ จึงอาจมีหนุ่มบ้านใกล้หรือบ้านไกลเข้ามาช่วยเหยียบกระเดื่องครก ผ่อนแรง หรือ ทำคะแนน หรือเสวนาตามประสาหนุ่มสาวก็เป็นได้ ซึ่งก็เป็นวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกับของชาวลาวในภาคอีสาน หรือชาวไทยภาคกลาง หรือชาวไทยเหนือ

    

                  ชาวลาวโซ่งนิยมกินข้าวเหนียว จึงมีกระติ้บข้าวหรือที่เรียกว่า กระเหล็บ ไว้บรรจุ ซึ่งก็คล้ายคลึงกับกระติ้บข้าวของชาวไทยเหนือและชาวอีสานบ้านเฮา  แต่ทุกวันนี้ชาวลาวโซ่งได้เปลี่ยนค่านิยมการกินเป็นการกินข้าวเจ้าได้ด้วย การแต่งกายและวิถีชีวิตเปลี่ยนไปตามยุคสมัยด้วยเช่นกัน แม้กระทั่ง "บ้าน" หรือ " เฮือน" ก็เปลี่ยนรูปโฉมไปจนแทบหาชมไม่ได้เลย 

ยานพาหนะ "เกวียน"บรรทุกสินค้าและพืชไร่

                  พิพิธภัณฑสถานอู่ทองได้สร้างบ้านตัวอย่างของลาวโซ่งไว้อย่างแน่นหนาและตรงตามบ้านในอดีตอย่างเข้าถึง เป็นอาคารเรียนรู้ที่มีเรื่องเล่าขานและสืบสานตำนานของชาวลาวโซ่งได้ไม่น้อย ข้อสังเกตุ บ้านชาวลาวโซ่งไม่มีการใช้ตะปูตอกตีแต่อย่างใด แต่ได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเชื่อมต่อด้วยการเข้าลิ่มหรือใช้ธรรมชาติจากง่ามไม้  

   

 

                    

               

Tags : ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ ฟ้อนต้อนรับ

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view