http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 07/08/2024
สถิติผู้เข้าชม14,367,670
Page Views16,699,227
« October 2024»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

วัดชลธารสิงเห วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย

วัดชลธารสิงเห วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย

วัดชลธารสิงเห เป็นวัดพิทักษ์แผ่นดินไทยอย่างไร

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

            ถ้าไม่มีวัดชลธารสิงเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส แผ่นดินตากใบอาจตกไปอยู่ในบังคับของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ขึ้นกับรัฐกลันตัน แต่เพราะมีวัดชลธารสิงเหสถิตอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสุไหง-โกลก จึงเป็นเหตุผลให้ตอบโต้เจ้าอาณานิคมอังกฤษได้ว่า เป็นดินแดนของชาวเจ๊ะเห หรือชาวสยาม เพราะเป็นวัดในพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำแผ่นดินสยามในเวลานั้น


            เหตุผลและหลักฐานเหล่านี้ เจ้าอาณานิคมอังกฤษจึงยอมจำนนด้วยหลักเหคุผลและประจักษ์พยาน ยอมให้พื้นที่อำเภอตากใบขึ้นอยู่ในพื้นที่สยามประเทศ


            เรื่องราวความเป็นมาแต่ดั้งเดิมคือ คนในดินแดนตอนใต้ด้ามขวานทองของไทยนั้นเคยอยู่ในปกครองของกรุงสุโขทัย มีขุนนางและชาวสุโขทัยติดตามมาอยู่อาจเป็นทหาร ควาญช้างหรือครอบครัว ดังนั้น จึงปรากฏว่ามีคนที่พูดด้วยภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ หรือภาษาเจ๊ะเห พูดกันตั้งแต่อำเภอปานาเระ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ลงมาจนถึงชายแดนไทย-มาเลเซีย ฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะในอำเภอตากใบ


ภาพเขียนบนเพดานพิพธภัณฑ์

            แต่พบว่า กลุ่มคนมาเลเซียเชื้อสายไทยในรัฐกลันตันของมาเลเซีย ที่พูดด้วยภาษาไทยถิ่นเหนือ ผสมกับสำเนียงชาวใต้


ธรรมมาศและตู้พระไตรปิฏก

            มาร์วิน บราวน์ (Marvin Brown) ศึกษาภาษาถิ่นของไทยและให้ความเห็นว่าภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบมีวิวัฒนาการมาจากภาษาสุโขทัยโดยตรง ศิลปะ วัฒนธรรม ในวัดต่างๆ ค่อนไปทางเหนือเช่น เจดีย์ ศาลาการเปรียญ วิหาร หรือกระทั่งชื่อหมู่บ้านดั้งเดิม อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่าเมื่อทัพกรุงสุโขทัยยกลงมานั้นมีชาวไทยกลุ่มที่พูดภาษาเจ๊ะเหออกมาต้อนรับมากมาย 



                        

             ตำนานสุดท้ายอ้างว่า เป็นเจ้าเชื้อสายกษัตริย์อาณาจักรฟูนานที่แพ้สงครามชิงบัลลังก์ ในศตวรรษที่ 6 แต่ตำนานสุดท้ายของสุดท้ายคือ ผมเองเคยไปศึกษาดุงานในประเทศมาเลเซียนานถึง 1 เดือน ได้ออกไปทุกรัฐของประเทศมาเลเซีย และเคยได้พบพานคนสยามที่หน้าตาและพูดจาด้วยภาษาไทยเจ๊ะเห

             ดร.อึ้งแห่งกรมป่าไม้ประเทศมาเลเซียบอกเล่าให้ผมฟังว่า นี่แหละชาวสยามที่เป็นเครือญาติของคุณ


ผู้บรรยายชาวเจ๊ะเห บรรยายด้วยสำเนียงเจ๊ะเห

            กูเกิ้ลบอกเล่าว่า มีผู้พูดภาษานี้คือชาวไทยพุทธในอำเภอมายอ อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอไม้แก่น ในจังหวัดปัตตานี ในอำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ อำเภอศรีสาคร อำเภอยี่งออำเภอเจาะไอร้อง อำเภอเมือง อำเภอตากใบ อำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอแว้ง อำเภอสุคิรินในจังหวัดนราธิวาส [1] 

 

             รวมไปถึงชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยที่อาศัยอยู่ในรัฐกลันตัน เช่น เมืองตุมปัต เมืองปาซีร์มัส เมืองโกตาบารู และเมืองปาซีร์ปูเตะห์ เป็นต้น 


หอระฆังเก่าแก่

             ด้วยหลักฐานว่าเป็นถิ่นคนไทยเชื้อสายดั้งเดิมแล้วยังมีวัดในพระพุทธศาสนา  ศิลปะ วัฒนธรรมต่าง ๆ ที่บ่งชี้ว่าเป็นเขตแดนของพี่น้องชาวสยาม โดยเฉพาะวัดชลธารสิงเหนี่เอง

วัดชลธารสิงเหเดิมชื่อวัดท่าพรุ หลวงพ่อพุฒขออนุญาตจากเจ้าพระยากลันตันสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2403 ต่อมาปีพ.ศ.2416 จึงได้สร้างพระอุโบสถและเจดีย์


กุฏิเจ้าอาวาสองค์หนึ่ง

พระอุโบสถศิลปะรัตนโกสินทร์ 

              พระอุโบสถ สร้างตามแบบศิลปะรัตนโกสินทร์ หลังคาซ้อน 3 ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันประดิษฐ์ด้วยปูนปั้นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ สวยงาม  

ภายในผนังอุโบสถเป็นภาพวาดสีฝีมือพระชาวสงขลา ประกอบด้วยลายเทพชุมนุม พุทธประวัติ และวิถีชีวิตชาวบ้านถิ่นตากใบ


พระประธานศิลปพระมอญ

              พระประธาน เป็นศิลปะพระมอญ ปากแดง เกศาดำ  ประดิษฐานอยู่บนบุษบกสูง 1.5 เมตร แต่ภายหลังได้ลงรักปิดทองทั้งองค์จึงได้กลบฝังตุ้มเกศาดำและปากสีแดงไปจนสิ้น

องค์พระเจดีย์สร้างเป็นฐานสี่เหลี่ยมล้อมด้วยกำแพงแก้วและสถูปทรงระฆังคว่ำ งดงามตราบถึงทุกวันนี้


              วัดชลธารสิงเหขึ้นทะเบียนกรมศิลปากรประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 2 ตอน 136 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2518 และประกาศเขตที่ดินโบราณสถานแห่งชาติ เล่มที่ 119 ตอนพิเศษ1170 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2545 แต่ชาวตากใบยังคงเรียกวัดแห่งนี้ว่า วัดเจ๊ะเห


ภาพวาดวิถีชีวิตของพี่น้องชาวพุทธ

รูปปั้นหลวงพ่อพุฒ

              นอกจากนั้น ยังมีพิพิธภัณฑสถานที่เก็บรักษาศิลปะ วัฒนธรรมเครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ประเภทถ้วยชามจาน  อาวุธประเภทกฤช เครื่องดนตรีของชาวเจ๊ะเห  และที่สำคัญคือ รูปปั้นการลงนามการปักปันเขตแดนในครั้งนั้น  โปรดสังเกต อาคารพิพิธภัณฑ์ ลวดลายฉลุ กระเบื้อง ประตู หน้าต่าง และตู้เครื่องบรรจุวัสดุโบราณ สวยแปลกตาไปจากที่พบเห็นทั่วไป


              นี่แหละครับคือเรื่องราวของวัดพิทักษ์แผ่นดินไทย อำเภอตากใบจึงได้ตกอยู่ในปกครองของชาวสยาม บรรยายสรุปเรื่องราวต่าง ๆ ให้ได้รู้ด้วยภาษาและสำเนียงของชาวเจ๊ะเห  คนเจ๊ะเหเป็นผู้บรรยาย  พวกเราจะได้ฟัง สำเนียงชาวสยาม ที่เรียกว่าสำเนียงภาษาไทยแบบชาวตากใบ หรือชาวเจ๊ะเห โดยตรงเลยทีเดียว

 

ศาลาริมน้ำสุไหง-โกลก

วิถีชีวิตชาวเจ๊ะเหในแม่น้ำสุไหง-โกลก 

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view