กรมสบส.ขับเคลื่อนนโยบาย Medical Hub ไร้รอยต่อ
มุ่งสู่ “เมืองแห่งสุขภาวะ” ชูความเป็นเลิศแพทย์ไทย
เรื่อง-กรมสนับสนุนฯ ภาพ-ธงชัย เปาอินทร์
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เร่งขับเคลื่อนโยบาย Medical Hub สร้างศักยภาพ ส่งเสริม และพัฒนาให้สถานพยาบาลเอกชนมีมาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อคุ้มครองผู้รับบริการทั้งชาวไทย และผู้รับบริการชาวต่างชาติในพื้นที่ท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต พร้อมผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพในระดับนานาชาติ
น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (27 พฤษภาคม 2558) กล่าวว่า กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เป็นหน่วยงานหลักในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการ ด้านระบบบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานสากลทุกระดับ โดยเฉพาะพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีความสวยงามติดอันดับโลก คือ จังหวัดภูเก็ต หลายคนใฝ่ฝันและตั้งเป้าหมายว่าขอมาเที่ยวสัก 1 ครั้ง พบว่ามีชาวต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาพำนักเป็นจำนวนมาก กรมสบส.จึงได้นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ณ จังหวัดภูเก็ต พร้อมคณะได้แก่ นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดี กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาล
และการประกอบโรคศิลปะ นางอัญธิกา ชัชวาลยางกูร ผู้อำนวยการกองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน นายสุรพันธ์ ชัยล้อรัตน์ ผู้อำนวยการกองวิศวกรรมการแพทย์ และผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพ เขต 1 -12 เพื่อให้สอดคล้อง กับนโยบายของรัฐบาลและนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2555 ที่ปรากฏตามนโยบายที่ 4 นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต ข้อ 4.3 นโยบายพัฒนาสุขภาพของประชาชน ได้กำหนดกลยุทธ์และวิธีการดำเนินการตามนโยบายไว้ในข้อที่ 4.3.7 คือ “การขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นเลิศในผลิตภัณฑ์และการบริการด้านสุขภาพ การรักษาพยาบาลในภูมิภาคเอเชียโดยประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการสร้างความก้าวหน้าในทางวิชาการและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับบริการสุขภาพโดยรวมของคนไทย” ซึ่งได้เน้นให้ Medical Hub เป็นนโยบายเร่งด่วนที่สำคัญ ในการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ในจังหวัดท่องเที่ยวชั้นนำพร้อมขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นเลิศในด้านการบริการด้านสุขภาพ และด้านผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเป็นผู้นำด้านการรักษาพยาบาลในภูมิภาคเอเชีย
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า เนื่องจากจังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดท่องเที่ยว พบว่ามีปัญหาด้านสุขภาพ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อ 5 อันดับแรกมาตลอด 10ปีที่ผ่านมา ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคติดเชื้อในกระแสเลือด อุบัติเหตุ โรคปอดอักเสบ และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปอด กรมสบส.ได้กำหนดนโยบายในการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาการจัดบริการสุขภาพ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ได้ร่วมมือ กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริการสุขภาพของคนไทย ทั้งยังสนับสนุนภาคเอกชน ให้จัดบริการศูนย์พักฟื้นผู้ป่วยที่มีมาตรฐาน รวมถึงการแก้ไขปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องใช้บุคลากรทางการแพทย์ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนให้เอื้ออำนวย ต่อการดำเนินงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านระบบบริการให้ผู้ป่วยต่างชาติ การให้บริการทางการแพทย์ ลดปัญหาข้อขัดแย้ง ที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมยกระดับมาตรฐานคุณภาพของสถานพยาบาลและลดความเสี่ยงของการร้องเรียน และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้รับบริการในคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ
ด้าน นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ย้ำว่า พร้อมกันนี้ยังมีการส่งเสริมพัฒนา และควบคุมกำกับมาตรฐานเน้นผู้ประกอบการภาคเอกชน ได้แก่ โรงพยาบาลเอกชน คลินิกเอกชน สถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพและนวดเพื่อสุขภาพ รวมทั้งการส่งเสริมผู้ประกอบการที่ผลิตอาหาร เครื่องสำอางในจังหวัดให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ส่งเสริมพัฒนาสถานประกอบการให้มีมาตรฐาน สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ และเพิ่มรายได้ให้กับจังหวัด ได้เน้นใน 3 ด้านดังนี้ 1.ด้านธุรกิจการรักษาพยาบาล ประกอบด้วยคลินิกเอกชนจำนวน 275 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน ที่มีมาตรฐานตามกฎหมาย 3 แห่ง และโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน JCIA (Joint Commission international Accreddittation USA) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ 2.ด้านธุรกิจบริการส่งเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข สปาเพื่อสุขภาพ 90 แห่ง และร้านนวดเพื่อสุขภาพ 110 แห่ง และ3.ด้านธุรกิจผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผลิตและนำเข้า จำนวน 170 ตำรับ เป็นต้น ทั้งยังพบว่า สถานประกอบการเพื่อสุขภาพในจังหวัดภูเก็ต ที่เข้าระบบและผ่านการรับรองมาตรฐาน เป็นอันดับ 2 รองจากกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ พร้อมผลักดันประเทศไทย เป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพนานาชาติได้
นอกจากนี้ นพ.ขจรศักดิ์ แก้วจรัส นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต เพิ่มเติมว่า ด้านสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ได้กำหนดแนวทางการจัดระบบบริการสุขภาพทั่วถึง ทุกที่ ไร้ร้อยต่อ ONE PROVINCE ONE HOSPITAL ทุกระดับมุ่งสู่เมืองแห่งสุขภาพวะ เพื่อเป็นองค์กรชั้นนำร่วมสร้างภูเก็ตสู่เมืองสุขภาวะอย่างยั่งยืน เป็นการบูรณาการระบบการบริการจัดการที่มีความฉับไว และเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของจังหวัดภูเก็ตอย่างมีคุณภาพ ลดระยะเวลารอคอย ลดการปฏิเสธส่งต่อ การแพทย์ฉุกเฉิน ผู้สูงอายุและผู้พิการได้รับการดูแล และผู้รับบริการได้รับยาที่มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2557 – 2558 ในด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีจำนวนมากร่วมทั้งนักท่องเที่ยง 10 ล้านคนต่อไป มีแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามกว่า 1 แสนคน และอุปสรรคการทำงานเชิงรุก มั่นใจประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการแพทย์ในระดับนานาชาติ
ไปเยี่ยมสุโขสปา
คณะสาธารณะสุขภูเก็ต อารมร์ดี